วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การออกภาคสนามวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตอนที่ 2

15/07/54                 บ้านเรือนแพ อุทัยธานี
ปัจจุบันสถาปัตยกรรมเรือนแพริมน้ำในจังหวัดอุทัยธานี เป็นที่รู้จักจากสังคมต่างถิ่น มีการไปมาหาสู่เที่ยวชมเรือนแพเก่า วิถีชีวิตเรือนแพริมน้ำที่ยังคงอยู่ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดำเนินตามแนวทางอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
ลักษณะของเรือนแพ จะมีให้เห็นทั้งแบบเรือนไม้ธรรมดาที่ไม่ได้ตกแต่งประดับประดามากมาย และแบบที่เป็นเรือนไทย ที่มีทั้งหน้าจั่วแหลม ทรงมะลิลา  ทรงปั้นหยา โดยที่หลังคาจะมุงด้วยหญ้าแฝก และสร้างคร่อมบนแพลูกบวบไม้ไผ่ มีการทำพื้น ตั้งเสา ทำคาน คล้ายๆกับบ้านที่อยู่บนบก
               เรือนแพที่นี่มีเลขที่บ้าน และเลขทะเบียนบ้านรับรองการอยู่ศัยถูกต้องตามกฎหมาย ในสมัยก่อนมีบ้าน 
เรือนแพอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ในทุกวันนี้มีจำนวนลดลงไปมาก ส่วนหนึ่งเพราะยากต่อการดูและรักษา เนื่องจาก
ระดับน้ำที่มีการขึ้นลง อาจจะทำให้ลูกบวบใต้เรือนแพเสียหายได้ แต่ปัจจุบันทางการไม่อนุญาตให้มีการออก
ทะเบียนบ้านเรือนแพที่สร้างใหม่แล้ว
16/07/54  
วัดศรีรองเมือง


                ความโดดเด่น

เป็นวัดพม่าที่มีรูปแบบทางสถาปัตย์กรรม และงานศิลปะต่างๆแตกต่างจากวัดทั่วๆไป
                เป็นวัดพม่าที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบันมีอายุราว 103 ปี สร้างโดยช่างฝีมือจากพม่าล้วนๆ ซึ่งบางส่วนของจั่วหลังคาได้ถอดแบบมาจากปราสาทเมืองมัณฑเลย์ ประเทศพม่า
                         -หลังคาที่เรียงซ้อนกันลดหลั่นบนคอทรงสี่เหลี่ยมสูง มองระยะไกลคล้ายปล่องสี่เหลี่ยมมีหลังคาจั่วคุลมซ้อนเป็นชั้นๆ โดยที่ทางขึ้นวิหารตรงกับแนวยอดหลังคาชั้นสูงสุดอีกด้วย
                         -การแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในวิหารที่น่าสนใจ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน แยกกันด้วยการต่างระดับของฟังก็ชัน ระดับที่สูงที่สุดคือ บริเวณที่ประดิษฐานพระประธานและพระพุทธรูปต่างๆ
                         -วัดพระแก้วดอนเต้่าสุชาดาราม มีพระเจดีย์ใหญ่ทรงล้านนา มีมณฑปยอดปราสาทแบบพม่าที่ประณีตงดงาม มีพระวิหารทรงล้านนาที่มีรูปทรงงดงาม
                 -มีพระอุโบสถทรงล้านนาขนาดกะทัดลัด มีสัดส่วนสวยงาม ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐
           วัดศรีรองเมืองจัดเป็นวัดพม่าที่มีความสมบูรณ์พร้อม กล่าวคือมีทั้งพระวิหาร พระอุโบสถ พระธาตุเจดีย์ กุฏิและซุ้มประตูเป็นแบบอย่าพม่าทั้งสิ้น 
           สำหรับพระวิหารที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวัด เป็นอาคารตึกครึ่งไม่แบบพม่า กล่าวคือมีหลังคาซ้อนกันหลายชั้น แต่ละชั้นลดหลั่นกันถึง 7 ชั้น ขึ้นไปหาเรือนยอด ชั้นบนสุดประดับด้วยฉัตรทองคำตัวพระวิหารมีมุขบันไดทางขึ้นทั้งสองด้าน ซึ่งทั้งสองมุขมีลวดลายแกะสลักลงรักปิดทอง มีภาพตุ๊กตาพม่าสลับบนลายเครือเถา หน้าบันเป็นลายดอกไม้ประดับ กระจกสี 
           ส่วนบนเพดานวิหารแต่ละช่องประดับด้วยตุ๊กตาแกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ ไม่ซ้ำกัน มีทั้งสิงโต ปลา วัว ลิง นก ช้าง ม้า เด็ก และเทวดา
           ตัววิหารสร้างด้วยไม้สัก หลังคาจั่วซ้อนกันเป็นซุ้มเรือนยอด เป็นกลุ่มของชั้นหลังคา สวยงามตามแบบศิลปะพม่า มีลายฉลุบนสังกะสี ใช้ประดับบนจั่ว และเชิงชายหลังคา เพิ่มความอ่อนช้อย และสง่างามให้วิหาร เสาไม้ตกแต่งด้วยศิลปะการปั้นรักเป็นลวดลายเครือดอกไม้ ประดับด้วยกระจกสี เฉพาะเสาหน้าพระประธาน จะปั้นรักเป็นรูปเทพารักษ์ คน ยักษ์ วานรและสัตว์ป่าให้เหมือนในป่าหินมพานต์

วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม เป็ฯวัดเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็ฯมามากกว่า 500 ปี เคยเป็ฯที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต
ความโดดเด่น

                        -มณฑปปราสาทพม่า เป็นยอดศิลปะพม่าประดับลวดลายไม้และแผ่นแกะสลักฝีมือที่ละเอียดมาก

        -โบสถ์วัดสุชาดาราม เป็นโบสถ์ขนาดเล็กออกแบบเป็นลายยกพื้นสูง เป็นโบสถ์แบบปิดมีผนังล้อมรอบ มีโถงอยู่ส่วนหน้า   
          ของโบสถ์สัดส่วนสวยงาม ภาพจิตรกรรมฝาผนังกล่าวถึงโทษที่ได้รับจากการทำบาปตามคติความเชื่อของชาวบ้าน

          การจัดวางองค์ประกอบที่น่าอัศจรรย์ของโบสถ์หลังนี้ คือการเน้นลวดลาย จากไม้ฉลุที่ไม่วิจิตร ค่อยๆไล่ขึ้นไปด้านบนจนวิจิตรพิศดาร โดยอาศัยฐานโบสถ์ปูนปั้นสีขาวเรียบขนาดใหญ่ เป็นตัวผลักให้ลายฉลุนั้นเด่นขึ้น ที่น่าทึ่งกว่านั้น คือ ปูนปั้นสิงห์ 2 ตัว ด้านหน้าทางเข้าที่ทำจากปูนปั้นธรรมดานั้น กลับดูวิจิตรพิศดารรวมไปกับผนังโบสถ์ไม้ฉลุ เพราะเทคนิคการ interlocking ของ mass ที่เรียบ(ฐานโบสถ์) เข้ากับลวดลายไม้ฉลุที่วิจิตร(ผนังโบสถ์)

          โครงสร้างหลังคามีการลดหลั่นโครงสร้างตุ๊กตา และมีคอสอง โดดเด่นด้วยการเหลื่อมชั้นที่ซับซ้อนไม่เหมือนโบสถ์ทั่วไป มีความใช้เทคนิคโบราณ สัดส่วนสวยงาม

วัดข่วงกอม
วัดข่วงกอม ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี สร้างโดยครูบาศรีวิชัย เดิมมีสภาพทรุดโทรมเกินกว่าจะซ่อมแซม จึงเกิดการร่วมแรงร่วมใจระหว่างชาวเมืองปาน ช่างฝีมือท้องถิ่นและสถาปนิกของการเคหะแห่งชาติ โดยการนำของ ดร.วทัญญู ณ ถลาง อดีตผู้ว่าคนแรกของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งท่านเป็นสถาปนิกมีชื่อเสียงคนหนึ่งของไทย ที่มาใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุราชการที่จังหวัดลำปาง
                                ดร.วทัญญู ณ ถลาง ได้ออกแบบวัดข่วงกอมใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่โบสถ์ ศาลาราย หมู่กุฏิ ซุ้มประตูโขงและภูมิทัศน์
                แวดล้อม โดยยังคงเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมล้านนาเดิมของท้องถิ่น ก่อสร้างด้วยวัสดุพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นนำมา 
                ประยุกต์กับเทคโนโลยีสมัยใหม่

ท้องนา(Landscape) และหมู่บ้านแจ้ซ้อน
          ท้องนาเสน่ห์แห่งสังคมชนบท สังคมเกษตรกรรม ที่อยู่ได้ด้วยตนเอง พึ่งพาธรรมชาติซึ่งกันและกัน มนุษย์อาศัยอยู่กับธรรมชาติ ดำเนินตามธรรมชาติ แทรกตัวอยู่กับธรรมชาติ ที่โอบล้อมให้เกิดพื้นที่ที่มีกลิ่นอายของความเป็นกันเองลัอบอุ่น เรารู้จักสร้างสิ่งปลูกสร้างที่เข้ากับสภาพแวดล้อม มีความพอดี ไม่เกินตัว ใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด 


อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน มีการจัดวางรูปแบบของ Landscape ที่ลงตัวกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ(บ่อน้ำพุ และน้ำตก) ที่มีอยู่อย่างสวยงามและต่อเนื่อง มีการแทรก space ของจุดพักนั่งเล่น นั่งต้มไข่ลวกเป็นระยะๆ เพื่อสร้างกิจกรรมบนทางเดินและโขดหินที่เป็นทางยาวไปสู่น้ำตกให้ไม่น่าเบื่อ

คุ้มเจ้าพระยาปิงเมือง
          เดิมเป็นฉางข้าวขนาดใหญ่ของคุ้มเจ้าพระยาปิงเมือง ปัจจุบันมีการอนุรักษ์ยุ้งฉางข้าวขนาดใหญ่นี้ไว้ เพราะสามารถอนุรักษ์อาคารที่ปัจจุบันมีเหลืออยู่น้อยลงแล้วได้อย่างสมบูรณ์อีกหลังหนึ่ง 

17/07/54 


วัดปงสนุก นครลำปาง


                ลักษณะตัวอาคารผสมผสานระหว่างศิลปกรรมล้านนา พม่าและจีน หลงเหลือเพียงอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย ทั้งยังมีความเชื่อสืบกันมาว่า วิหารหลังนี้สร้างโดยช่างเชียงแสน เลียนแบบหอคำเมืองเชียงเกี๋ยง (เชียงเจิ๋ง) ในสิบสองปันนา ประเทศจีน ซึ่งไม่หลงเหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน วิหารหลังนี้จึงเปรียบเสมือนสายสัมพันธ์ทางศิลปกรรม กับสิบสอง ปันนาเท่าที่เหลืออยู่ 
                ยูเนสโกมอบรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคแห่งองค์การยูเนสโก ประจำปี 2551 เพื่อยกย่องการบูรณปฏิสังขรณ์วัดปงสนุก จังหวัด ลำปาง โดยโครงการอนุรักษ์มรดกดังกล่าวได้รับรางวัลดี (Award of Merit) เผยเป็นวัดแรกของไทยที่ได้รางวัลนี้ 
             วิหารนี้เป็นที่ตั้งของวิหารพระเจ้าพันองค์ สร้างด้วยไม้ ในลักษณะมณฑปหลังคาซ้อนสามชั้น บนสัหลังคาเหนือมุขทั้งสี่สร้างปราสาทไม้จำลองขนาดเล็กหุ้มด้วยสังกะสีฉลุลาย สื่อความหมายถึงทวีปทั้งสี่รอบเขาพระสุเมรุ ชั้นระหว่างหลังคางดงามด้วยงานแกะสลักรูปสัตว์ป่าหิมพานต์ ประดับช่องหน้าต่างด้วย ลายฉลุรูป สัตว์ประจำทิศในพุทธศาสนา ขนาบด้วยภาพชาดกเขียนสีบนพื้นไม้ใส่กรอบกระจก     แผนผังวิหารยังเพิ่มมุมระหว่างมุขอีกสี่ด้าน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งของเสาประดับโคนรูปกลีบบัว อันเคยประดับด้วยกระจกจีน (กระจกตะกั่ว) ทำหน้าที่ประดุจฐาน จักรวาลที่รองรับโลกและภพภูมิต่างๆไว้ อีกด้วย



วัดไหล่หินหลวง
          "วัดไหล่หินหลวง" อำเภอเกาะคา อารามเก่าแก่สำคัญของเมืองลำปาง    วัดไหล่หินหลวง หรือ วัดเสลารัตนปัพพตาราม วัดสำคัญเก่าแก่ของจังหวัดลำปางที่มีอายุหลายร้อยปี จากหลักฐานทางด้านโบราณ จารึกและตำนานต่างๆ ได้กล่าวถึงวัดไหล่หินในอดีตว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญทางศาสนา มีหลักฐานว่าในปี พ.ศ.2181 วัดไหล่หินสมัยนั้นยังเป็นอารามเล็กๆ มีพระภิกษุสามเณรมาอาศัยบวชเรียนเป็นจำนวนมาก
            รูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบยุคหลังสร้างเป็นอาคารโถงมีผนังกั้นด้านหลัง มีราวลูกกรงไม้กั้นเตี้ย ๆ ล้อมรอบ พื้นยกสูงเล็กน้อย หน้าบันเป็นลายแกะสลักกระจกสีส่วนของค้ำยันเป็น "นาคตัน" หลังคามุมด้วยกระเบื้องเคลือบ ชายคาประดับด้วยไม้ฉลุลายซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมกันทั่วไปในเมืองลำปางขณะนั้น ถือเป็นอาคารที่สร้างตามแบบกุฏิโบราณของล้านนา วัดไหล่หินหลวง นับว่าเป็นโบราณสถานที่ยังคงใช้ประกอบพิธีทางศาสนาอยู่ในปัจจุบัน และเป็นวัดสำคัญที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง
            จุดเด่นของงานสถาปัตยกรรมชิ้นนี้น่าสนใจตรงที่ การปิดกั้น space ระหว่างภายในและภายนอกที่ไม่ชัดเจน (เบลอเข้าหากัน) หรือที่เรียกว่า inside outside space คือนั่งอยู่ในวิหารเสมือนกับนั่งอยู่ภายนอกอาคาร โดยใช้เทคนิคการกดต่ำของชายคาลงไปเพื่อเวลานั่ง ระดับสายตาเราจะตรงกับชายคาพอดี ทำให้ผนังระเบียงคตที่โอบล้อมวิหารทำหน้าที่เป็นผนังให้กับวิหารไปโดยปริยาย


เรื่องโครงสร้างมีเทคนิคที่น่าสนใจ คือ การตั้งโครงสร้างตุ๊กตาลดระดับแผงคอสองโดยใช้เสาโกร๋นรับน้ำหนักตรงกลาง เพื่อเปิดมุมมองหน้าพระประธานให้สง่า และไม่บดบัง


วัดพระธาตุลำปางหลวง

วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นโบราณสถานสำคัญ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณซากเมืองโบราณลัมพกัปปะนคร ตามประวัติพระนางจามเทวีเคยเสด็จมานมัสการ และทำการบูรณะซ่อมแซมอยู่เสมอ นับว่าเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณกาล มีความสวยงาม และมีความยอดเยี่ยมทั้งสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม เป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวลำปาง และชาวพุทธทั่วไป

ความโดดเด่น

- มีการจัดวางผัง และส่วนประกอบของวัดสมบูรณ์แบบที่สุด

- ภาพเขียนบนไม้คอสอง ไม้คอสองคือแผ่นไม้ที่ติดอยู่ด้านบนของแต่ละช่วงเสา
- วิหารน้ำแต้ม เป็นวิหารบริวารตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุเจดีย์ เป็นวิหารเครื่องไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า   
  รูปร่างและสัดส่วนงดงาม ภายในคอสองมีภาพเขียนสีโบราณที่เก่าแก่
                        - มีความสวยงาม และมีความยอดเยี่ยมทั้งสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม
                          เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต
- ประตูโขง เป็นฝีมือช่างหลวงโบราณที่สวยงามก่ออิฐถือปูนทำเป็นซุ้มยอดแหลมเป็นชั้น ๆ มีสี่ทิศ ประดับ
  ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น รูปดอกไม้ และสัตว์ในหิมพานต์ ประตูโขงแห่งนี้ใช้เป็นสัญลักษณ์เมืองลำปาง
  ในตราจังหวัดลำปาง

- มณฑปพระเจ้าล้านทอง  วิหารหลวง เป็นวิหารประธานของวัด ตั้งอยู่บนแนวเดียวกับประตูโขง และองค์

  พระธาตุเจดีย์ เป็นวิหารจั่วรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงวิหารโล่งตามแบบล้านนายุคแรก หลังคาจั่วซ้อนกันเป็น

  ชั้น ๆ ภายในวิหารบรรจุมณฑปพระเจ้าล้านทอง ด้านในของแนวคอสอง มีภาพเขียนสีโบราณเรื่องชาดก

        - เจดีย์  องค์พระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงล้านนา ก่ออิฐถือปูน ประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมด้วยบัว             

                          มาลัยสามชั้น เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่หุ้มด้วยแผ่นทองเหลือง ฉลุลายหรือทอง
      ประตูโขงบริเวณทางขึ้น                                                    วิหารประธานและมณฑปพระเจ้าล้านทอง  
 
















                     หอระฆัง                                                                                                                                  หอพระแก้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น