วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การออกภาคสนามวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตอนที่ 4


สรีดภงค์เป็นคันดินกั้นน้ำระหว่างเขาพระบาทใหญ่และเขากิ่วอ้ายมา โดยเขื่อนจะกักน้ำและมีระบบชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำลำเลียงไปตามคลองสู่กำแพงเมืองเก่า แล้วน้ำจะไหลเข้าสู่สระตระพังเงินสระตระพังทองเพื่อใช้สอยในเมืองและพระราชวังในสมัยสุโขทัย สำหรับแหล่งต้นน้ำในอดีตเรียกว่า โซก ก็คือลำธาร โซกที่สำคัญได้แก่ โซกพระร่วงลองขรรค์ โซกพระร่วงลับขรรค์ โซกพม่าฝนหอก โซกชมพู่ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่ไหลมาจากเขาประทักษ์

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

          
            ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีสัชนาลัย บริเวณที่เรียกว่า แก่งหลวง เดิมชื่อว่า เมืองเชลียงแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น ศรีสัชนาลัยในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัย และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองแทนเมืองเชลียง ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีโบราณสถาน และโบราณวัตถุทั้งหมด 215 แห่ง สำรวจค้นพบแล้ว 204 แห่ง  วัดสำคัญในอุทยานประวัติศาสตร์ ได้แก่
-วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ วัดพระบรมธาตุเมืองเชลียง และเรียกอีกชื่อว่า วัดพระปรางค์  ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่าศรีสัชนาลัย เป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ และเป็นพระอารามหลวงชั้นราชวรวิหาร มีโบราณสถานที่สำคัญภายในวัด  ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน ลักษณะรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมจัดอยู่ในสมัยอยุธยา


-วัดศรีสวาย  โบราณสถานที่สำคัญตั้งอยู่ในกำแพงแก้ว ประกอบด้วยปรางค์ องค์ รูปแบบศิลปะลพบุรี ลักษณะของปรางค์ค่อนข้างเพรียว ตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ ลวดลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน ได้พบทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ที่แสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน แล้วแปลงเป็นพุทธสถานโดยต่อเติมวิหารขึ้นที่ด้านหน้า แล้วเป็นวัดในพุทธศาสนาภายหลัง

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัยเป็นอาคารทรงไทยสถาปัตยกรรมสุโขทัย ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ บริเวณหน้าวัดพระพายหลวง ภายในอาคารมีห้องโถงประชาสัมพันธ์สำหรับบริการข้อมูลนักท่องเที่ยวของอุทยานฯ แบบจำลองของเมืองสุโขทัย และศูนย์อำนวยการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้
สถาปัตยกรรมร่วมสมัย มีการประยุกต์ใช้วัสดุสมัยใหม่เข้ามาร่วมกับการออกแบบที่เป็นการดึงเอาเอกลักษณ์ของสุโขทัย แล้วลดทอนรายละเอียดให้ดูเรียบง่ายขึ้น ให้ดูต่างจากโบราณสถานทั่วไปในอุทยาน
รูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ ถอดแบบมาโดยการคงเอาสัดส่วนที่สวยงามไว้ แต่เปลี่ยนในเรื่องของการให้รายละเอียดในส่วนที่ต้องประดับตกแต่ง ให้ง่ายขึ้น

วัดพระพายหลวง

เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียกว่า คูแม่โจน วัดพระพายหลวงเป็นศูนย์กลางของชุมชน โบราณสถานทเก่าแก่ที่สุดของวัด คือ พระปรางค์ 3 องค์ เป็นปรางค์ประธานของวัด ก่อด้วยศิลาแลง ศิลปะเป็นเขมรแบบบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ด้านหน้าของวัดเป็นอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น อิริยาบถ คือนั่ง นอน ยืน เดิน

วัดศรีชุม
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ซึ่งมีนามว่า "พระอจนะ" องค์พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในมณฑป พระพุทธอจนะ เป็นที่เลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์และมีมนต์เสน่ห์และเอกลักษณ์

   
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 11.30  เมตร ลักษณะของวิหารสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป แต่หลังคาพังทลายลงมาหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้าน ก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน และเดินขึ้นไปตามทางบันไดแคบ ๆ ถึงผนังด้านข้างขององค์พระอจนะ หรือสามารถขึ้นไปถึงสันผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700  ปี นอกจากนี้แล้วบนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายเรื่องชาดกต่าง ๆ มีจำนวนทั้งหมด 50 ภาพ เมื่อเดินตามช่องทางบันไดขึ้นไปจะโผล่บนหลังคาวิหารมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบ  วิหารนี้ไม่มีหน้าต่าง แต่เดิมคงมีหลังคาเป็นรูปโค้งคล้ายโดม 

บ้านป้าปิ่น  สีชอล์ค

บ้านของนางปิ่น สีชอล์ค อยู่ที่จังหวัดสุโขทัย มีความน่าสนใจเรื่องของการจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยโดยการยกระดับพื้นเป็นส่วนๆ จึงไม่มีการกั้นผนังเพื่อแบ่งแยก space
                          พื้นที่อเนกประสงค์                                                                   ยกระดับพื้นแยกฟังก์ชันใช้สอย

22/07/54
หมู่บ้านริมทางสุโขทัย
                          หมู่บ้านกลุ่มนี้โดดเด่นด้วยการจัดสภาพแวดล้อม (Landscape) ที่มีความสมบูรณ์ และหลากหลาย
มีพืชพรรณนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน ผักสวนครัว ป่าอาหาร ชาวบ้านจึงเน้นการพึ่งพา 
ตนเอง อยู่ได้ด้วยตนเอง
การปลูกพืชสวนครัวแทรกกับไม้พุ่ม ไม้ประดับชนิดอื่นๆ นอกจากจะเป็นแหล่งอาหารยังให้ความสมดุล ความงามของทรงพุ่มอีกด้วย

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร
เป็นวัดสำคัญของเมืองเชลียง ปรากฏหลักฐานแน่ชัดในศิลาจารึกหลักที่ 1 และในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จไปปราบชุมนุมพระฝางเมืองสวางคบุรี แล้วได้เสด็จสมโภชพระบรมธาตุเมืองเชลียงนี้ด้วย และวัดนี้ยังเป็นที่สรงน้ำมูรธาภิเษก สำหรับพระเจ้าแผ่นดินใหม่ที่จะขึ้นเสวยราชสมบัติมาแต่ครั้งโบราณกาล  ลักษณะฐานปรางค์องค์นี้ มีเป็นวิหารคด 3 ชั้น ก่อผนังทึบ และเจาะช่องแสง ฐานปรางค์แผ่ขยายกว้างออกไปทั้ง 3 ด้าน (ด้านหน้าเป็นพระวิหาร) คล้ายสร้างครอบสถูปหรือเจดีย์ที่สำคัญไว้ภายใน มีอายุอยู่ ในช่วงก่อนสุโขทัยตอนต้น
โบราณสถานและโบราณวัตถุอื่นๆ ภายในวัด
1. องค์พระปรางค์พระศรีรัตนมหาธาตุ 
                1. ยอดนพศูลกาไหล่ทองคำ 
                2. เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดเล็กในห้ององค์พระปรางค์ 
                3. เพดานดาวไม้จำหลัก สกุลช่างสุโขทัย 
                4. ประตูองค์พระปรางค์ไม้จำหลัก สกุลช่างสุโขทัย 
                5. ร่องรอยจิตรกรรมฝาผนังสีเอกรงค์ 
                6. ปล่องปริศนาลงใต้ท้ององค์พระปรางค์
               2. พระวิหารหลวง ใหญ่ขนาด 7 ห้อง สร้างด้วยศิลาแลง 
                                                1. หลวงพ่อโต ศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4.08 เมตร 
                                                2. พระพุทธรูปปางลีลาปูนปั้น ศิลปะสุโขทัยคลาสสิค 
                                                3. พระพุทธรูปยืนปูนปั้น 
                                                4. ผนังพระวิหารหลวงแบบช่องแสง สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย 
                               3. พระอุโบสถ 
                               4. ซุ้มพระร่วง พระลือ 
                               5. เจดีย์ทิศทั้งสี่ 
                               6. ระเบียงคดและวิหาร 
                               7. กำแพงแก้ว 
                               8. ซุ้มประตูรูปพรหมพักตร์ 
                               9. เสาพระประทีบรอบองค์พระปรางค์ 
                              10. เจดีย์ยอดด้วน 
                              11. พระอัฏฐารศ 
                              12. ฐานวิหารหลวงพ่อธรรมจักร 
                              13. พระวิหารหลวงพ่อสองพี่น้อง

ความโดดเด่น
- ปรางค์ประธานวัด ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนเสร็จแล้วลงสีชาดทับ ลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมจัดอยู่                  
  ในสมัยอยุธยา 
- กำแพงวัดเป็นศิลาแลงแท่งกลมขนาดใหญ่ปักเรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

โรงแรมสุโขทัย เฮอริเทจ รีสอร์ท
เป็นโครงการในการรองรับนักท่องเที่ยวจากสนามบินสุโขทัย ซึงแนวคิดการออกแบบสอดคล้องกันคือ สถาปัตยกรรมสุโขทัยร่วมสมัย มีการประยุกต์เอาเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ถอดรหัสเอากลิ่นอายเข้ามาร่วมกับงานสมัยใหม่ วัสดุใหม่ๆ

                                    ซุ้มประตูทางเข้า มีการเล่นมุข เล่นหน้าบรรณถอดแบบมาจากโบราณ

                        การออกแบบพื้นที่อเนกประสงค์ ให้สามารถใช้ร่วมกันได้ บริเวณคอร์ทกลาง ใช้น้ำเป็ฯตัวเชื่อม space

                                         มีการนำรายละเอียดการประดับตกแต่งแบบไทยมาประยุกต์ใช้กับส่วนต่างๆในโครงการ


อาคารต่าง ๆ ภายในสนามบิน
- อาคารผู้โดยสารขาเข้า เป็นอาคารชั้นเดียว เปิดโล่ง ไม่มีผนัง หลังคาทรงจั่วแบบสุโขทัยซ้อนมุข 1 ชั้น โครงสร้างพื้นฐาน ค..ล โครงสร้างหลังคาไม้ ขนาดพื้นที่ใช้สอย 204 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 200 คน - อาคารผู้โดยสารขาออก เป็นอาคารชั้นเดียว เปิดโล่ง ไม่มีผนัง หลังคาทรงจั่วแบบสุโขทัยซ้อน มุข 1 ชั้น โครงสร้างพื้น ค..ล โครงสร้างหลังคาไม้ ขนาดพื้นที่ใช้สอย 204 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 200 คน
- อาคาร Check-in เป็นอาคารชั้นเดียวเปิดโล่ง กึ่งมีผนัง หลังคาทรงจั่วแบบสุโขทัย โครงสร้าง ค... โครงสร้างส่วนหลังคาเป็นไม้ ขนาดพื้นที่ใช้สอย 144 ตารางเมตร
- อาคารนครวัด เป็นอาคารชั้นเดียวเปิดโล่ง ไม่มีผนัง หลังคาทรงจั่วแบบสุโขทัย โครงสร้างส่วนหลังคาเป็นเหล็ก ขนาดพื้นที่ใช้สอย 90 ตารางเมตร
- เรือนรับรอง เป็นอาคารชั้นเดียว มผนัง หลังคาทรงปั้นหยา โครงสร้าง ค... ขนาดพื้นที่ใช้สอย 45 ตารางเมตร
- อาคาร Catering เป็นอาคารชั้นเดียว มีผนัง หลังคาทรงปั้นหยา โครงสร้าง ค... ขนาดพื้นที่ใช้สอย 60 ตารางเมตร
- อาคารครัวไทย เป็นอาคารชั้นเดียว มีผนัง หลังทรงปั้นหยา โครงสร้าง ค... ส่วนหลังคาเป็นโครงสร้างเหล็ก ขนาด 48 ตารางเมตร
- อาคาร Water Tank เป็นอาคาร 2 ชมีผนัง หลังคาทรงจั่วแบบสุโขทัย โครงสร้าง ค... ขนาดพื้นที่ใช้สอย 122.74 ตารางเมตร
- อาคารสื่อสาร เป็นอาคารชั้นเดียว มีผนัง หลังคาทรงปั้นหยา โครงสร้าง ค... ขนาดพื้นที่ใช้สอย 18 ตารางเมตร
- อาคารเก็บเครื่องสำรองไฟเป็นอาคารชั้นเดียว มีผนัง หลังคาทรงจั่ว โครงสร้าง ค... ขนาดพื้นที่ใช้สอย 144 ตารางเมตร
- โรงซ่อมบำรุงยานพาหนะเป็นอาคารชั้นเดียว มีผนัง หลังคาทรงจั่ว โครงสร้าง ค..ล ขนาดพื้นที่ใช้สอย 144 ตารางเมตร
- อาคารงานระบบ เป็นอาคารชั้นเดียว มีผนัง หลังคาทรงแหงน โครงสร้าง ค..ล ขนาดพื้นที่ใช้สอย 32 ตารางเมตร
- อาคารดับเพลิงและกู้ภัย เป็นอาคารชั้นเดียว เปิดโล่ง มีผนัง หลังคาทรงปั้นหยา โครงสร้าง ค... ขนาดพื้นที่ใช้สอย 96 ตารางเมตร
- อาคารแปลงนาสาธิต 2 อาคาร เป็นอาคารชั้นเดียว เปิดโล่ง มีผนัง หลังคาทรงปั้นหยา โครงสร้าง ค... ขนาดพื้นที่ใช้สอย 32 ตารางเมตร
- ซุ้มขายกาแฟ เป็นอาคารเปิดโล่ง หลังคาปั้นหยามุงปีกไม้ โครงสร้างเหล็ก ขนาดพื้นที่ใช้สอย 16 ตารางเมตร



อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยวัดนางพญา
วัดนางพญาเป็นวัดในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ที่มีความโดดเด่นและน่าสนใจในเรื่อง


-
ผนังโบสถ์ที่ยังคงลวดลายจารึกเป็นหลักฐานที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เป็ฯต้นแบบในการศึกษางานต่อไป

วัดเจดีย์เจ็ดแถว
















เจดีย์รายที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวมีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจากที่ต่าง ๆหลายแห่ง เช่น ลังกา และพุกามด้านหลังเจดีย์ประธานมีเจดีย์รายที่มีลักษณะเด่น คือฐานเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ยอดเป็นทรงกลม ภายในเจดีย์มีซุ้มโถงส่วนซุ้มโถงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้นมีภาพจิตรกรรมเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า และเหล่าเทวดา กษัตริย์
นอกจากนั้นยังมีกำแพงแก้วล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ภายนอกกำแพงมีโบสถ์และบ่อน้ำ ซึ่งเดิมมีคูน้ำล้อมรอบ ทั้งนี้ภายในบริเวณวัดมีต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพ นำผ้าสีมาพันไว้รอบต้นไม้


23/07/54
วัดราชบูรณะ
          พระอุโบสถมีลักษณะพิเศษที่ชายคา ตกแต่งด้วยนาค 3 เศียร มีลักษณะอ่อนช้อยงดงาม 


การวางผังของวัด มีพระปรางค์เป็นองค์ปรธานของวัด รอบองค์พระปรางค์ มีระเบียงคต และวิหารทิศ พระวิหารทางทิศตะวันออกเป็นที่ประดิษฐานพระอัฎฐารส ที่เรียกกันว่า วิหาร เก้าห้อง ปัจจุบันคงเหลือพระอัฎฐารส เสาและเนินพระวิหารบางส่วน พระวิหารทางทิศตะวันตก เป็ฯที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระวิหารทางทิศเหนือ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ พระวิหารทางทิศใต้ เป็นที่ประดิษฐานพระศรีศาสดา ซึ่งปัจจุบันพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาถูกอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ทางวัดพระศรีรีตนมหาธาตุวรมหาวิหารจึงได้สร้างองค์จำลองขึ้นแทน
ประเด็นการออกแบบที่น่าสนใจ
- การออกแบบระเบียงคต ผสมผสานระหว่างสุโขทัยและอยุธยา
  รูปแบบสุโขทัย องค์พระพุทธรูปรอบระเบียงคต จะหันหน้าออกจากคอร์ท
  รูปแบบอยุธยา  องค์พระพุทธรูปรอบระเบียงคต จะหันหน้าเข้าองค์พระปรางค์ประธาน



การออกภาคสนามวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตอนที่ 3


18/07/54
พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


             สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเชิญเข้าเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนาซึ่งได้ทำการอนุรักษ์ไว้จำนวน 8 หลัง เพื่อเปิดให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของคนล้านนาแต่โบราณ เรือนแต่ละหลังมีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี มีเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม
ที่โดดเด่น สวยงาม

ชื่อเรือน
พ.ศ. ที่สร้าง
อายุ
ย้ายมาปลูก พ.ศ.
1. เรือนไทลื้อ (หม่อนตุด)
2460
91
2536
2. เรือนกาแล (อุ๊ยผัด)
2460
91
2537
3. เรือนพื้นบ้านล้านนา (อุ๊ยแก้ว)
สงครามโลกครั้งที่ 2
-
2540
4. เรือนกาแล (พญาวงศ์)
2440
111
2541
5. ยุ้งข้าว ของเรือนกาแล
(พญาวงศ์)
2440
111
2542
6. เรือนชาวเวียงเชียงใหม่
(พญาปงลังกา)
2439
112
2547
7. เรือนปั้นหยา (อนุสารสุนทร)
2467
84
2548
8. เรือนทรงโคโลเนียล (ลุงคิว)
2465
86
-

- เรือนไทลื้อ  (หม่อนตุด)

              เป็นเรือนไม้ขนาดกลางลักษณะเป็น "เรือนสองหลังหน้าเปียง" หมายถึงมีองค์ประกอบของเรือน 2 หลังคือ ห้องด้านตะวันออกเป็น "เฮือนนอน" โล่งกว้าง

                                              การกั้นห้องเป็ฯเอกลักษณ์โดยใช้มุ้งหรือม่านกั้น เพื่อแบ่งเป็นสัดส่วน เพื่อสามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอย
                                ได้หลากหลาย


-เรือนกาแล (อุ๊ยผัด)


            เป็นเรือนยกพื้นที่ทำจากไม้ทั้งหลัง ขนาดของบ้านก็ดูกระทัดรัด ด้วยความกว้างราว 7 เมตร ส่วนความยาวจากเสาต้นแรกตรงบันได ถึงชานหลังบ้าน ประมาณ 12 เมตร หลังคามุงด้วย "แป้นเกล็ด" หรือกระเบื้องไม้ หากลองเดินไปรอบๆ จะเห็นเสาบ้านค่อนข้างมาก นับได้ถึง 48 ต้น
-เรือนกาแล (พญาวงศ์)

            เรือนกาแลหลังนี้ เป็นเรือนที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เมื่อนำมาเทียบกับเรือนโบราณหลังอื่นๆที่เราได้เคยพบเห็นมา ตรงชานบ้านที่กว้างขวางจนสะดุดตา ด้านหน้าเรือนที่ใช้สำหรับเป็นพื้นที่สารพัดประโยชน์ สามารถรองรับผู้คนในงานกิจกรรมต่างๆได้อย่างมากมาย ความกว้างของชานบ้านมีขนาดเท่ากับความกว้างของตัวเรือน คือประมาณ 10 เมตร และมีความยาวไปจรดส่วนที่เรียกว่า เติ๋น ประมาณ 5 เมตร

วัดพันเตา
สร้างขึ้นเมื่อในสมัยพุทธศตวรรษที่ 21 ตอนต้น เมื่อประมาณ 2040 มีอายุได้ 511 ปี ในอดีตเมืองเชียงใหม่เรียกวัด พันเตา ว่า วัดปันเต้า  หรือ วัดพันเท่า  คือหมายถึง  ปริมาณที่เพิ่มพูนขึ้นมากเป็น                   ร้อยเท่าพันเท่า
ความโดดเด่น
- โดดเด่นที่วิหาร เป็นวิหารไม้สักขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีลักษณะเป็นอาคารทรงพื้นเมืองล้านนา 
- งานศิลปกรรมท้องถิ่นของพระวิหาร หอคำ โดยได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ของกรม
  ศิลปากร
- มีหน้าแหนบที่ป็นไม้แกะสลักที่สวยงามที่สุดในล้านนา และมีลวดลายในโครงสร้างสามเหลี่ยม ตรง
                                  กลางแกะสลักรูปมอม (พาหนะของเทพปัชชุนนะ เทพผู้บันดาลให้เกิดฝน

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ ๗                                
แห่งราชวงศ์มังราย
ความโดดเด่น
- มีส่วนสูง 80 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้าง ด้านละ 56 เมตรปรับรูปทรงเป็น แบบโลหะปราสาทของลังการูปลักษณ์
  ทรงเจดีย์แบบพุกามดัดแปลงซุ้ม จระนำมุดเจดีย์ด้าน ตะวันออกให้เป็นซุ้มและแท่นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต
                - ครั้งพระแก้วมรกตประดิษฐานที่เชียงใหม่ช่วง พ.ศ. 2011 - 2091 สมัยพระเมืองแก้วหรือ พญาแก้วมีการบูรณะอีก
                  ครั้งโดยขยายฐานใหม่ให้ใหญ่ขึ้น พ.ศ. 2088 สมัยพระนางจิรประภา เกิดพายุและแผ่นดินไหว ยอดพระเจดีย์หัก
                พังทลายลงมา เป็นอุทาหรณ์ ของการสร้างอาคารสูงในเชียงใหม่ที่ยังไม่มีใครวิตก
โรงแรมราชมรรคา

           
                โดดเด่นด้วยแรงบันดาลใจ ชะลอรูปแบบจากวิหารวัดพระธาตุลำปางหลวง ผสมผสานด้วยศิลปะแห่งล้านนา รวมกลิ่นอายวัฒนธรรม 3 ชาติ คือ จีน ลาว พม่า ได้อย่างลงตัว
แนวคิดการออกแบบ
- สัดส่วนอาคาร 
                                                                  มีการถอดแบบมาจากหอไตรวัดพระธาตุเจดีย์หลวง
               สัดส่วนอาคารถอดแบบมาจากหอไตรวัดพระธาตุเจดีย์หลวง ซึ่งเป็นศิลปะแบบพม่า เน้น mass ของ base มากกว่า body ของอาคาร เพื่อส่งเสริมให้ทรงหลังคา และงานผนังไม้ดูโดดเด่นขึ้น

        -การวางผัง

                             วิหารคตวัดไหล่หิน                                                                        คอร์ทโรงแรมราชมรรคา                  
          การจัดวางกลุ่มอาคารของโรงแรมราชมรรคา ได้นำหลักการเชื่อมต่อที่ว่าง ของวัดไหล่หิน(วิหารกับระเบียงคต) มาออกแบบปิดล้อมคอร์ทของห้องพัก ทำให้เกิดความรู้สึกที่สงบนิ่ง  เป็นส่วนตัว

วัดอินทราวาส (วันต้นเกว๋น)

          ในอดีต  วัดต้นเกว๋น เป็นวัดที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งนักวิชาการหรือผู้รู้ คนในด้านศิลปะก็บอกว่า เป็นวัดที่งามที่สุดในประเทศไทยวิหารวัดต้นเกว๋น เป็นวิหารแบบล้านนาโบราณ หน้าบันประดับกระจกแก้วสีแบบฝาตาผ้าหรือฝาปะกน โก่งคิ้วจำหลัก ไม้ลายเครือเถาสอดสลับรูปเศียรนาค ศาลาจัตุรมุขก็เหมือนกัน สร้างแบบไม่มีตะปู คือการเข้าสลักไม้ จะไม่ใช้ตะปูเลย ส่วนที่ใช้ตะปูก็จะตีขึ้นเอง เป็นลักษณะตะปู แต่ไม่ใช่เหล็กหล่อเป็นส่วน แต่ส่วนใหญ่เข้าสลักไม้ จากหัวเสาเป็นแพ เข้าสลักไม้ นี่คือจุดเด่น
          มณฑปจัตุรมุข เป็นมณฑปจัตุรมุขแบบพื้นเมืองล้านนาซึ่งพบเพียงหลังเดียวเท่านั้นในภาคเหนือ
ลักษณะเป็นศาลาที่มีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน ส่วนกลางของศาลามีจั่วซ้อนอยู่สองชั้นมุงด้วยกระเบื้องดินเผาที่เรียกว่ากระเบื้องดินขอ ที่พิเศษกว่านั้นคือช่อฟ้าของหลังคาหลังนี้ ช่างโบราณได้ออกแบบให้เป็นนกที่มาเกาะได้อย่างลงตัว ต้องขอชื่นชมในความเด็ดขาดความเรียบง่ายและลงตัวในงานออกแบบ ที่กลางสันหลังคามีซุ้มมณฑปเล็กๆ ซึ่งทางภาคเหนือเรียกว่า ปราสาทเฟื้อง ลักษณะเดียวกับที่พบในภาคอีสานและลาว

วัดต้นกอกและหมู่บ้านบริเวณวัดต้นกอก ตำบลบ้านกลาง
           กลุ่มโบราณสถานวัดต้นกอกนั้นกำหนดอายุไปได้ถึงสมัยหริภุญไชย  ซึ่งเศษภาชนะดินเผาที่พบก็มีส่วนน้อยแต่โบราณวัตถุส่วนใหญ่รวมทั้งลักษณะทางสถาปัตยกรรมอยู่ในช่วงสมัยล้านนา  จากหลักฐานทางด้านเอกสารและตำนานหลายฉบับ และตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ย่อมแสดงให้เห็นว่าเวียงท่ากานเป็นเมืองที่มีการอยู่อาศัยต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยหริภุญไชยลงมาจนถึงสมัยล้านนา วัดตั้งอยู่ทางด้านหลังเจดีย์ ห่างจากเจดีย์ประมาณ 30 กว่าเมตรลักษณะทั่วไปของบ้านต้นกอกเป็นที่ราบชายเนินหรืออยู่ส่วนชายเมืองเวียงท่ากาน พื้นที่โดยรอบเป็นที่ราบลุ่ม มีลำเหมืองขนาดใหญ่ไหลผ่านทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน และทางเหนือของหมู่บ้านมีลำคลองชลประทานขุดผ่าน มีประชาชนประมาณ 145 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่เป็นพวกไทยเขิน ตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยกันมา 2 ชั่วอายุคน ชาวบ้านมีอาชีพทำนา

หมู่บ้านต้นแหนน้อย
              หมู่บ้านต้นแหนน้อย เป็นหมู่บ้านชาวไทยเขินอพยพ ที่มีการสร้างบ้านให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่สัมพันธ์กับพื้นถิ่นล้านนา การจัดผังบริเวณของหมู่บ้าน มีการเกาะกลุ่มกันลัดเลาะริมน้ำ และกระจายทั่วพื้นที่ โดยมากเป็นเรือนเดี่ยวยกใต้ถุน และมียุ้งฉางข้าว  ลานดินที่แสดงถึงวิถีชีวิตของคนโบราณในการให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว เพื่อนบ้าน จึงมีลานดินไว้ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน

บ้านเสานัก


                  รูปแบบและความเก่าของบ้านเสานัก สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต รสนิยม แบบแผนประเพณีพื้นเมืองของชาวลำปางเป็นอย่างดี ดังนั้นบ้านเสานักจึงเป็นงานสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า การอนุรักษ์บ้านเสานักจึงเป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลังในการศึกษาเรียนรู้อดีตความเป็นมาของประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น
                 บ้านเสานักผ่านวันเวลาแห่งอดีตกาลในฐานะของบ้านพักคหบดีของลำปาง กระทั่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงสุดเมื่อ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาทินัดดามาตุ เสด็จมาประทับเสวยพระกระยาหาร และประทับพักผ่อนพระอริยาบถเมื่อครั้งเสด็จประพาสจังหวัดลำปาง
           บ้านเสานัก เป็นบ้านที่ออกแบบผังให้มีการระบายอากาศตามธรรมชาติ มีการวางตำแหน่งช่องเปิดได้อย่างเหมาะสม และมีการเว้นช่องลมระหว่างผนังกับหลังคา ทำให้ลมมสามารถพัดผ่านห้องต่างๆในบ้านได้ตลอดแม้ไม่เปิดหน้าต่าง การออกแบบมุมนั่งเล่น ให้สามารถเชื่อมระหว่างที่ว่างภายในและภายนอกได้อย่างลงตัว

หมู่บ้านริมทาง (บ้านวังค่าหมู่ 4 อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย)
                        จุดเด่นของหมู่บ้านนี้ คือการจัดวางองค์ประกอบ การเปิดช่อง void ต่างๆ การใช้วัสดุ และการจัด space
               ทำงานกับ  space พักผ่อนที่ลงตัว  เชื่อมถึงกันระหว่างบ้านละแวกข้างเคียง
             มีการเว้นจังหวะการเปิดปิด plane ที่น่าสนใจ ประกอบกับการใช้วัสดุที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่น อย่างสังกะสี สลับลายตั้ง ลายขวาง เพิ่มความตื่นเต้น และสร้างเสน่ห์ให้กับ mass
             พื้นที่ใต้ถุนบ้า เป็นพื้นที่  inside outside space ในขณะที่เราพักผ่อนและทำกิจกรรมต่างๆ ได้คลุมแดดคลุมฝนใต้ถุนบ้าน ก็ยังสามารถมองเห็นสีเขียวของต้นไม้เป็ฯผนังธรรมชาติ รายล้อมให้เกิด space  สร้างพื้นที่อเนกประสงค์ เพิ่มพูนกิจกรรมร่วมกันในละแวกเพื่อนบ้าน 
              Living space ใต้ถุนบ้านของชาวบ้านแถบชนบท สามารถมองเห็นเป็น space ทะลุทะลวงไปยังใต้ถุนบ้านหลังอื่นๆได้ สื่อถึงการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน ชาวบ้านที่มีการพึ่งพาอาศัย และทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันอยู่เสมอ
เสน่ห์ของบ้านชาวชนบทอีกอย่างหนึ่ง คือการพึ่งพาตัวเองตามวิถีธรรมชาติ ปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ และปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงาม ไปลูกไม้ยืนต้นให้ร่มเงาแก่บ้าน และพื้นที่อเนกประสงค์ใต้ร่มเงาไม้
การเล่นวัสดุที่หาง่ายๆ ตามท้องถิ่น แต่เน้นการจัดองค์ประกอบที่น่าสนใน ก็สามารถสร้างงานที่ดีได้เช่นกัน