วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

MY IDOL ARCHITECT,KMITL

Design มีส่วนบังคับชีวิตคน แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนได้
แนวคิดในการรออกแบบสถาปัตยกรรมของสถาปนิกหนึ่งในผู้ถือหุ้นบริษัทพิกัดคอนซัลแทนท์ พี่เกรียงศักดิ์ ติรวิภาส 
ที่ได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในวิชาชีพสถาปนิกมาโดยตลอด

        เกรียงศักดิ์  ติรวิภาส หรือพี่เกรียง เรียนจบจากสถาปัตย์ ลาดกระบังรุ่นที่ 19 (..2534) สถาปนิกรุ่นใหญ่                (จบมานาน) ผู้ที่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและมีแนวทางการทำงานที่น่าสนใจ



ผู้สัมภาษณ์ : สวัสดีค่ะพี่เกรียง หนูชื่อวิวค่ะ (วีรยา ปิยะตระกูล) สถ.5 รหัส 50020071 รุ่น 35 แล้วค่ะ
พี่เกรียง :       เทียบรุ่นกันไม่ได้จริงๆ (ฮ่าๆๆ หัวเราะ) สมัยนั้นมีไม่ถึงรหัสนี้เลย มี 40 กว่าคนเอง
ผู้สัมภาษณ์ : ค่ะ เดี๋ยวนี้เด็กๆ นิยมหันมาเรียนสถาปัตย์กันมากค่ะพี่ โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง
พี่เกรียง :       โอ้ย! สมัยพี่นะหรอ ผู้หญิงมีแค่ 5 คนเอง แล้วอาจารย์จิ๋วท่านจะตั้งชื่อรุ่นให้ว่า
 รุ่นวาสนาน้อย(ตีความไปนู้น อันที่จริงแล้วท่านหมายถึง รุ่นพี่นะขี้เกียจเข้า
 เรียนกัน โดนด่า เรื่องเล่นบอลใต้ตึกบ่อยๆ น่ะ)
ผู้สัมภาษณ์ : อ่อค่ะ พี่ช่วยเล่าประวัติตั้งแต่เรียนมาจนทำงานว่าผ่านอุสรรคหรือจุดพลิกพลันในชีวิต                   
        อะไรมาบ้าง? แล้วพี่ผ่านมันมาได้ยังไง จนมีวันนี้?
พี่เกรียง :       พี่เรียนจบปี 34 รุ่นอาจารย์รุ่งโรจน์น่ะ รู้สึกจะเป็นรุ่น 19 ประมาณนั้น ก็สมัยนั้นนอนสตูตั้งแต่
        ปี 1 เลย ลาดกระบังจะมีเสน่ห์อยู่ที่ความเป็นลูกทุ่ง คือใช้ชีวิตแบบบ้านๆ ทำงานถึงไหนถึงกัน
        (ถึก) ทุกคนจะรู้จักกันหมดทั้งคณะ(คนมันน้อย) ทำให้รักกันมาก สนิทกับอาจารย์ บรรยากาศ
        การเรียนก็จะอบอุ่นเป็นกันเองมากๆ สมัยนั้นเรียนจบมาแล้วมีงานทำทุกคน พี่ว่าเด็กถาปัตย์
        ลาดกระบังมีเอกลักษณ์อย่างนึง คือ สามารถออกแบบงานที่สร้างจริงได้ เพราะเราแน่น         
        โครงสร้าง (CON) และสามารถประสานจัดการงานดีไซน์ให้ออกมาเป็นแบบ Drawing ได้
            พี่จบปี 39 ออกมาทำงานดีไซน์ ก็เหมือนคนเรียนสถาปัตย์ทุกคนที่จบมาก็หวังว่าจะได้           
        ทำงานด้านดีไซน์ออกแบบกันทั้งนั้น ตอนนั้นก็ไปสมัครงานที่บริษัท J&B Architect ก็ทำงาน
        ได้ 6 เดือน รู้สึกว่าแนวทางการทำงานของ Office นี้มันไม่เข้ากับพี่ พี่เลยลาออก พอดีเพื่อน
        ชวนไปทำงานกับอาจารย์ยงธนิศย์  พิมลเสถียร ที่สถาปัตย์เนี่ยแหละ ท่านสอน ป.โท ภาค         
        ผังเมือง งานที่ทำจะเป็นงานอนุรักษ์งานวิจัยอยู่นาน จนวันหนึ่งอาจารย์ก็ไม่มีงานมาป้อน นี่
        แหละก็เป็นจุดที่ทำให้พี่เริ่มต้นรวมตัวรับ Job กับกลุ่มเพื่อนๆ หางาน แล้วงานก็เข้ามาเรื่อยๆ
        แรกๆ ก็เป็นงานออกแบบ ตกแต่งก่อน ต่อมางานก็ค่อยเริ่มใหญ่ขึ้น แต่ยังไม่มีรูปแบบของ
        บริษัท เราจะทำงานในรูปแบบของฟรีเลนส์มากกว่า  ก็ทำแบบนี้มานานกว่า 10 ปีได้ ทำให้
        เราโตขึ้น เลยตัดสินใจจดทะเบียน ทำงานในรูปแบบของบริษัทได้ 4-5 ปีที่ผ่านมานี้เอง
        ชื่อว่าบริษัทพิกัดคอนซัลแทนท์ อยู่แถวเขตวังทองหลาง กรุงเทพนี่เอง
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วอะไรทำให้พี่ตัดสินใจ ตั้งบริษัทของตัวเองคะ?
พี่เกรียง :       ก็หลังจากที่รับงานมาเรื่อยๆนะ ก็รู้จักเพื่อนที่ทำงานราชการ และการที่จะทำงานราชการได้
                    จะต้องจดทะเบียน ทำงานในรูปแบบบริษัท พี่เลยตัดสินใจตั้งบริษัท แล้วก็มีงานราชการเป็น
                    ส่วนใหญ่ ทำให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วงานที่บริษัททำเป็นงานในรูปแบบไหนคะ?
พี่เกรียง :       โดยมากเป็นงานออกแบบ และรับเหมาควบคุมงาน โดยจะหุ้นกันหลายคน  เชื่อมั๊ยว่าการ
                    ทำงานกับหุ้นส่วนซึ่งเป็นเพื่อนพี่เนี่ย มันทำให้พี่รู้ตัวเองว่า พี่ดีไซน์ไม่เป็น แต่พี่มีความสามารถ
                    ในการจัดการงานก่อสร้างซะมากกว่า พี่เลยทำหน้าที่สถาปนิกควบคุมงาน สเปกแบบ แก้
                    แบบหน้างาน คุยกับช่าง ซึงทำให้พี่พบว่า เออ การเป็นสถาปนิกเนี่ยต้องอาศัยทักษะของวิชา
                    CON และภาษาช่างมาช่วยในการคุยแบบด้วย เราไม่ได้เก่งแต่ดีไซน์ แต่งานจริงไม่ได้เรื่อง
                    มันทำให้พี่สนใจ และพยายามเรียนรู้จากประสบการณ์มากขึ้น งานนแต่ละงานมันสอนเรา ให้
                    เรารู้จักแก้ปัญหาดีไซน์และ CON พอคิดแบบนี้มันทำให้ห้องเรียนชีวิตของพี่กว้างขึ้น ไม่ได้อยู่
                    แค่ใน Office หรือตำราที่มีแต่สูตรสำเร็จทางวิชาการ
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพี่ยึดหลักอะไรในการทำงาน ในวิชาชีพสถาปนิกคะ?
พี่เกรียง :       สำหรับพี่แล้วเราต้องออกแบบบนพื้นฐานของความเป็นไปได้ พูดง่ายๆ คือ สามารถสร้างได้
                    จริงนั่นเอง พี่คิดว่างาน Design ก็เหมือน Lego ที่มีรูปแบบ มี model ประกอบสำเร็จของมัน
                    อยู่แล้ว แต่เราจะหยิบมาใช้ยังไง เพื่อต่อยอดสิ่งที่มีอยู่ ให้สร้างสรรค์เป็นสิ่งใหม่ได้
                    (การสังเคราะห์) ตรงนี้แหละที่พี่ว่ายาก

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพี่คิดว่าเด็กที่จบจากสถาปัตย์ ลาดกระบัง เป็นยังไงคะ?
พี่เกรียง :       เออสมัยเรียนเนี่ยไม่รู้ทำไม เราจะชอบเปรียบเทียบกับมหาลัยอื่นตลอดเลย พี่ว่าพอกันนะ
                    เรื่องดีไซน์ แต่ที่ลาดกระบังชนะขาดรอย คือ ความรู้เรื่อง CON และความถึกบึกบึนของพวก
                    เรา ความเป็นลุกทุ่งๆ ที่เป็นเสน่ห์ให้ใครต่อใครหลงรัก (หัวเราะ) ไม่รู้นะ คือ ลาดกระบังจะ
                    เป็นแนวออกแบบแล้วสร้างได้จริง แต่เด็กสมัยนี้ไม่รู้เป็นไง ไม่ว่าที่ไหนเนี่ย จบมามันทำงานยัง
                    ไม่ได้อ่ะ มันต้องเรียนรู้อีกเยอะเลย ทั้งการทำงานร่วมกับวิศวกร ช่าง หรือลูกค้าหลายๆ
                    รูปแบบ เหมือนเรามีความรู้ด้านเดียว คือ การดีไซน์(ที่ทำตามกระแสด้วย) เด็กสมัยนี้หา
                    จุดยืนยาก เพราะโลกมันกว้างหูตาเปิดรับทุกอย่างที่เข้ามา เลยแยกไม่ออกระหว่างอะไรที่
                    เป็นกระแสหรือข้อเท็จจริง ทำให้เด็กคิดด้านเดียว แต่ไม่เคยลงมือทำงานจริง ว่ามันยากกว่า
                    มันซับซ้อนกว่านั้นเยอะ ทำให้พี่คิดว่าสถาปนิกปัจจุบันเป็นนักออกแบบ Facade                     
                    (ก็เหมือนนักออกแบบเสื้อผ้า ที่เรียกว่าดีไซน์เนอร์นั่นเอง) ไม่ใช่นักออกแบบ Space
                    (สถาปนิก) พี่ก็ไม่ได้โทษอาจารย์ หรือสถาบันนะ เพราะมีคำพูดของอาจารย์เอกพงษ์ที่ว่า
                    “ สถาบันมีหน้าที่จรรโลงวิชาชีพให้สืบไปเท่านั้น แต่การเป็นสถาปนิกได้คุณต้องสร้าง                       
                    ด้วยตัวคุณเอง ตีความได้ว่า สถาบันไม่ได้สร้างสถาปนิก ฉะนั้นอย่าไปรอรับอย่างเดียว เรา
                    เองต่างหากที่สร้างให้เราเป็นสถาปนิกได้ โดยการไม่หยุดเรียนรู้ พี่เป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือ
                    มาก ไม่ว่าจะเป็นแนวไหน เพราะพี่คิดว่าการอ่านมันมีกระบวนการ มีมุมมองบางอย่างที่เรา
                    จะซึมซับแล้วหยิบมันมาใช้ในชีวิตประจำวันได้


ผู้สัมภาษณ์ : อืมมม ลึกซึ้งค่ะ แล้วพี่คิดยังไงที่สมัยนี้ให้ความสำคัญกับการออกแบบเรื่อง Green     
                     Architecture คะ (มันเป็นกระแสอย่างที่พี่บอก หรือเป็นแนวทางที่ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม)
พี่เกรียง :       คือสมัยที่พี่เรียนมีอยู่สามคำที่ Top hits มากคือ Sustainable Recycle และการมีส่วนร่วม
                    ซึ่งมันก็คือ Green Architecture มันก็แค่เป็นคำจำกัดความที่นักวิชาการสร้างขึ้นมาเพื่อ
                    แก้ปัญหาการบริโภควัสดุ บริโภคธรรมชาติของมนุษย์ จริงๆแล้วมันก็คือการต่อยอดของคำว่า
                    Recycle Sustainable และการมีส่วนร่วม คือทำยังไงก็ได้เพื่อให้เกิดความยั่งยืน สามารถ
                    หมุนเวียน และทุกคนต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบ แค่นั้นเอง พี่ว่า แค่เราสามารถออกแบบ
                    อาคาร ออกแบบ Space ให้อยู่สบาย เราก็ไม่ต้องใช้แอร์ ไม่ต้องใช้พลังงานในส่วนนั้น ก็ถือว่า
                    ประสบความสำเร็จแล้ว สำหรับการออกแบบที่ไม่ต้องถึงขนาดเข้าข่ายคำว่า
                    Green Architecture  หรอกครับ
ผู้สัมภาษณ์ : ค่ะ แล้วพี่คิดว่าจรรยาบรรณกับสถาปนิกมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน คะ ?
พี่เกรียง :      ในความคิดพี่นะ พี่ว่าไม่มีสูตรสำเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเสมอไปหรอก เรื่องจรรยาบรรณ
                    วิชาชีพเป็นเหมือนข้อกำหนด เป็นกรอบให้เราสามารถเดินไปตามทิศทางนั้นเท่านั้น พี่ว่า
                    อยากให้เราเชื่อในสิ่งที่เราคิดว่าดีมากกว่า แต่ก่อนที่จะเชื่อนั้น เราต้องพิสูจน์ ต้องหาความรู้
                    และทำความเข้าใจกับมัน แล้วค่อยยึดมันเป็นแนวทางบนพื้นฐานของความถูกต้อง และอยู่
                    ที่ว่าเราเรียนรู้มันจากด้านไหนมากกว่านะครับ
ผู้สัมภาษณ์ : ค่ะ สุดท้ายนี้ หนูก็อยากให้พี่ฝากอะไรสักหน่อย เพื่อเป็นแนวทางให้กับน้องๆ สถาปนิกรุ่น
                    น้อง ต่อๆไปค่ะ
พี่เกรียง :       พี่ว่า สถาปนิกคือผู้ที่ถูกฝึกให้มององค์รวมของโครงสร้างทั้งภายในและภายนอก ฉะนั้นทุกสิ่ง
                    ที่เราชอบหรือไม่ชอบเราจะสามารถวิเคราะห์ได้ก่อนแล้วเบื้องต้นว่าควรจะเลือกหยิบอะไรมา
                    ใช้ในงานออกแบบ แต่สำหรับ Great Architect แล้วเนี่ยเขาจะสังเคราะห์ ก็หมายถึงการต่อ
                    ยอดสิ่งที่มีอยู่ให้เป็นสิ่งใหม่ได้ (อันนี้จะขั้นเทพมาก) พี่อยากให้เราเรียนรู้การทำงานแบบ
                    Great Architect ไม่ใช่เพื่อให้เหมือนพวกเขา แต่เพื่อเรียนรู้ความเป็นมืออาชีพ แล้วพอถึงวัน
                    นั้นสถาปนิกไทยก็จะสามารถก้าวเข้าสู่ระดับอินเตอร์ได้อย่างแน่นอน
 ผู้สัมภาษณ์ : ขอบคุณค่ะ พี่เกรียงที่ให้แง่คิด และร่วมถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อเป็นแนวทางให้กับรุ่นน้อง
                    ลาดกระบังที่กำลังจะจบออกไป อยู่บนโลกแห่งวามเป็นจริง ทำงานจริง และหนูคิดว่าเราคง
                    ต้องอาศัย connection ที่ดีจากรุ่นพี่ๆ เพื่อการทำงานในอนาคตต่อไปด้วยค่ะ
พี่เกรียง :       ด้วยความยินดีครับ

        เมื่อบทสัมภาษณ์จบลง บรรยากาศของการคุยกันก็หวนย้อนไปถึงอดีต ครั้งที่พวกพี่ๆ เรียนอยู่
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ลาดกระบัง  เราทุกคนมีของดีประจำคณะ นั่นก็คือท่านอาจารย์จิ๋ว
(รศ.วิวัฒน์ เตมียพันธ์) ผู้บุกเบิกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ลาดกระบังยุคแรกๆ และก็เป็นที่แน่ชัดว่า                 
ท่านจะยังคงเป็น สถาปนิก IDOL ของทุกคนเรื่องแบบอย่างการใช้ชีวิต การวางตัว และความรับผิดชอบ             
ต่อหน้าที่ อย่างหาใครเทียบไม่ได้อีกแล้ว ณ ที่นี้


                                                อาจารย์จิ๋ว ผู้นำออกทริปในตำนานปี 2554


วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การออกภาคสนามวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตอนที่ 4


สรีดภงค์เป็นคันดินกั้นน้ำระหว่างเขาพระบาทใหญ่และเขากิ่วอ้ายมา โดยเขื่อนจะกักน้ำและมีระบบชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำลำเลียงไปตามคลองสู่กำแพงเมืองเก่า แล้วน้ำจะไหลเข้าสู่สระตระพังเงินสระตระพังทองเพื่อใช้สอยในเมืองและพระราชวังในสมัยสุโขทัย สำหรับแหล่งต้นน้ำในอดีตเรียกว่า โซก ก็คือลำธาร โซกที่สำคัญได้แก่ โซกพระร่วงลองขรรค์ โซกพระร่วงลับขรรค์ โซกพม่าฝนหอก โซกชมพู่ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่ไหลมาจากเขาประทักษ์

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

          
            ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีสัชนาลัย บริเวณที่เรียกว่า แก่งหลวง เดิมชื่อว่า เมืองเชลียงแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น ศรีสัชนาลัยในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัย และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองแทนเมืองเชลียง ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีโบราณสถาน และโบราณวัตถุทั้งหมด 215 แห่ง สำรวจค้นพบแล้ว 204 แห่ง  วัดสำคัญในอุทยานประวัติศาสตร์ ได้แก่
-วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ วัดพระบรมธาตุเมืองเชลียง และเรียกอีกชื่อว่า วัดพระปรางค์  ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่าศรีสัชนาลัย เป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ และเป็นพระอารามหลวงชั้นราชวรวิหาร มีโบราณสถานที่สำคัญภายในวัด  ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน ลักษณะรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมจัดอยู่ในสมัยอยุธยา


-วัดศรีสวาย  โบราณสถานที่สำคัญตั้งอยู่ในกำแพงแก้ว ประกอบด้วยปรางค์ องค์ รูปแบบศิลปะลพบุรี ลักษณะของปรางค์ค่อนข้างเพรียว ตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ ลวดลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน ได้พบทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ที่แสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน แล้วแปลงเป็นพุทธสถานโดยต่อเติมวิหารขึ้นที่ด้านหน้า แล้วเป็นวัดในพุทธศาสนาภายหลัง

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัยเป็นอาคารทรงไทยสถาปัตยกรรมสุโขทัย ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ บริเวณหน้าวัดพระพายหลวง ภายในอาคารมีห้องโถงประชาสัมพันธ์สำหรับบริการข้อมูลนักท่องเที่ยวของอุทยานฯ แบบจำลองของเมืองสุโขทัย และศูนย์อำนวยการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้
สถาปัตยกรรมร่วมสมัย มีการประยุกต์ใช้วัสดุสมัยใหม่เข้ามาร่วมกับการออกแบบที่เป็นการดึงเอาเอกลักษณ์ของสุโขทัย แล้วลดทอนรายละเอียดให้ดูเรียบง่ายขึ้น ให้ดูต่างจากโบราณสถานทั่วไปในอุทยาน
รูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ ถอดแบบมาโดยการคงเอาสัดส่วนที่สวยงามไว้ แต่เปลี่ยนในเรื่องของการให้รายละเอียดในส่วนที่ต้องประดับตกแต่ง ให้ง่ายขึ้น

วัดพระพายหลวง

เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียกว่า คูแม่โจน วัดพระพายหลวงเป็นศูนย์กลางของชุมชน โบราณสถานทเก่าแก่ที่สุดของวัด คือ พระปรางค์ 3 องค์ เป็นปรางค์ประธานของวัด ก่อด้วยศิลาแลง ศิลปะเป็นเขมรแบบบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ด้านหน้าของวัดเป็นอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น อิริยาบถ คือนั่ง นอน ยืน เดิน

วัดศรีชุม
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ซึ่งมีนามว่า "พระอจนะ" องค์พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในมณฑป พระพุทธอจนะ เป็นที่เลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์และมีมนต์เสน่ห์และเอกลักษณ์

   
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 11.30  เมตร ลักษณะของวิหารสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป แต่หลังคาพังทลายลงมาหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้าน ก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน และเดินขึ้นไปตามทางบันไดแคบ ๆ ถึงผนังด้านข้างขององค์พระอจนะ หรือสามารถขึ้นไปถึงสันผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700  ปี นอกจากนี้แล้วบนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายเรื่องชาดกต่าง ๆ มีจำนวนทั้งหมด 50 ภาพ เมื่อเดินตามช่องทางบันไดขึ้นไปจะโผล่บนหลังคาวิหารมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบ  วิหารนี้ไม่มีหน้าต่าง แต่เดิมคงมีหลังคาเป็นรูปโค้งคล้ายโดม 

บ้านป้าปิ่น  สีชอล์ค

บ้านของนางปิ่น สีชอล์ค อยู่ที่จังหวัดสุโขทัย มีความน่าสนใจเรื่องของการจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยโดยการยกระดับพื้นเป็นส่วนๆ จึงไม่มีการกั้นผนังเพื่อแบ่งแยก space
                          พื้นที่อเนกประสงค์                                                                   ยกระดับพื้นแยกฟังก์ชันใช้สอย

22/07/54
หมู่บ้านริมทางสุโขทัย
                          หมู่บ้านกลุ่มนี้โดดเด่นด้วยการจัดสภาพแวดล้อม (Landscape) ที่มีความสมบูรณ์ และหลากหลาย
มีพืชพรรณนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน ผักสวนครัว ป่าอาหาร ชาวบ้านจึงเน้นการพึ่งพา 
ตนเอง อยู่ได้ด้วยตนเอง
การปลูกพืชสวนครัวแทรกกับไม้พุ่ม ไม้ประดับชนิดอื่นๆ นอกจากจะเป็นแหล่งอาหารยังให้ความสมดุล ความงามของทรงพุ่มอีกด้วย

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร
เป็นวัดสำคัญของเมืองเชลียง ปรากฏหลักฐานแน่ชัดในศิลาจารึกหลักที่ 1 และในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จไปปราบชุมนุมพระฝางเมืองสวางคบุรี แล้วได้เสด็จสมโภชพระบรมธาตุเมืองเชลียงนี้ด้วย และวัดนี้ยังเป็นที่สรงน้ำมูรธาภิเษก สำหรับพระเจ้าแผ่นดินใหม่ที่จะขึ้นเสวยราชสมบัติมาแต่ครั้งโบราณกาล  ลักษณะฐานปรางค์องค์นี้ มีเป็นวิหารคด 3 ชั้น ก่อผนังทึบ และเจาะช่องแสง ฐานปรางค์แผ่ขยายกว้างออกไปทั้ง 3 ด้าน (ด้านหน้าเป็นพระวิหาร) คล้ายสร้างครอบสถูปหรือเจดีย์ที่สำคัญไว้ภายใน มีอายุอยู่ ในช่วงก่อนสุโขทัยตอนต้น
โบราณสถานและโบราณวัตถุอื่นๆ ภายในวัด
1. องค์พระปรางค์พระศรีรัตนมหาธาตุ 
                1. ยอดนพศูลกาไหล่ทองคำ 
                2. เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดเล็กในห้ององค์พระปรางค์ 
                3. เพดานดาวไม้จำหลัก สกุลช่างสุโขทัย 
                4. ประตูองค์พระปรางค์ไม้จำหลัก สกุลช่างสุโขทัย 
                5. ร่องรอยจิตรกรรมฝาผนังสีเอกรงค์ 
                6. ปล่องปริศนาลงใต้ท้ององค์พระปรางค์
               2. พระวิหารหลวง ใหญ่ขนาด 7 ห้อง สร้างด้วยศิลาแลง 
                                                1. หลวงพ่อโต ศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4.08 เมตร 
                                                2. พระพุทธรูปปางลีลาปูนปั้น ศิลปะสุโขทัยคลาสสิค 
                                                3. พระพุทธรูปยืนปูนปั้น 
                                                4. ผนังพระวิหารหลวงแบบช่องแสง สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย 
                               3. พระอุโบสถ 
                               4. ซุ้มพระร่วง พระลือ 
                               5. เจดีย์ทิศทั้งสี่ 
                               6. ระเบียงคดและวิหาร 
                               7. กำแพงแก้ว 
                               8. ซุ้มประตูรูปพรหมพักตร์ 
                               9. เสาพระประทีบรอบองค์พระปรางค์ 
                              10. เจดีย์ยอดด้วน 
                              11. พระอัฏฐารศ 
                              12. ฐานวิหารหลวงพ่อธรรมจักร 
                              13. พระวิหารหลวงพ่อสองพี่น้อง

ความโดดเด่น
- ปรางค์ประธานวัด ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนเสร็จแล้วลงสีชาดทับ ลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมจัดอยู่                  
  ในสมัยอยุธยา 
- กำแพงวัดเป็นศิลาแลงแท่งกลมขนาดใหญ่ปักเรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

โรงแรมสุโขทัย เฮอริเทจ รีสอร์ท
เป็นโครงการในการรองรับนักท่องเที่ยวจากสนามบินสุโขทัย ซึงแนวคิดการออกแบบสอดคล้องกันคือ สถาปัตยกรรมสุโขทัยร่วมสมัย มีการประยุกต์เอาเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ถอดรหัสเอากลิ่นอายเข้ามาร่วมกับงานสมัยใหม่ วัสดุใหม่ๆ

                                    ซุ้มประตูทางเข้า มีการเล่นมุข เล่นหน้าบรรณถอดแบบมาจากโบราณ

                        การออกแบบพื้นที่อเนกประสงค์ ให้สามารถใช้ร่วมกันได้ บริเวณคอร์ทกลาง ใช้น้ำเป็ฯตัวเชื่อม space

                                         มีการนำรายละเอียดการประดับตกแต่งแบบไทยมาประยุกต์ใช้กับส่วนต่างๆในโครงการ


อาคารต่าง ๆ ภายในสนามบิน
- อาคารผู้โดยสารขาเข้า เป็นอาคารชั้นเดียว เปิดโล่ง ไม่มีผนัง หลังคาทรงจั่วแบบสุโขทัยซ้อนมุข 1 ชั้น โครงสร้างพื้นฐาน ค..ล โครงสร้างหลังคาไม้ ขนาดพื้นที่ใช้สอย 204 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 200 คน - อาคารผู้โดยสารขาออก เป็นอาคารชั้นเดียว เปิดโล่ง ไม่มีผนัง หลังคาทรงจั่วแบบสุโขทัยซ้อน มุข 1 ชั้น โครงสร้างพื้น ค..ล โครงสร้างหลังคาไม้ ขนาดพื้นที่ใช้สอย 204 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 200 คน
- อาคาร Check-in เป็นอาคารชั้นเดียวเปิดโล่ง กึ่งมีผนัง หลังคาทรงจั่วแบบสุโขทัย โครงสร้าง ค... โครงสร้างส่วนหลังคาเป็นไม้ ขนาดพื้นที่ใช้สอย 144 ตารางเมตร
- อาคารนครวัด เป็นอาคารชั้นเดียวเปิดโล่ง ไม่มีผนัง หลังคาทรงจั่วแบบสุโขทัย โครงสร้างส่วนหลังคาเป็นเหล็ก ขนาดพื้นที่ใช้สอย 90 ตารางเมตร
- เรือนรับรอง เป็นอาคารชั้นเดียว มผนัง หลังคาทรงปั้นหยา โครงสร้าง ค... ขนาดพื้นที่ใช้สอย 45 ตารางเมตร
- อาคาร Catering เป็นอาคารชั้นเดียว มีผนัง หลังคาทรงปั้นหยา โครงสร้าง ค... ขนาดพื้นที่ใช้สอย 60 ตารางเมตร
- อาคารครัวไทย เป็นอาคารชั้นเดียว มีผนัง หลังทรงปั้นหยา โครงสร้าง ค... ส่วนหลังคาเป็นโครงสร้างเหล็ก ขนาด 48 ตารางเมตร
- อาคาร Water Tank เป็นอาคาร 2 ชมีผนัง หลังคาทรงจั่วแบบสุโขทัย โครงสร้าง ค... ขนาดพื้นที่ใช้สอย 122.74 ตารางเมตร
- อาคารสื่อสาร เป็นอาคารชั้นเดียว มีผนัง หลังคาทรงปั้นหยา โครงสร้าง ค... ขนาดพื้นที่ใช้สอย 18 ตารางเมตร
- อาคารเก็บเครื่องสำรองไฟเป็นอาคารชั้นเดียว มีผนัง หลังคาทรงจั่ว โครงสร้าง ค... ขนาดพื้นที่ใช้สอย 144 ตารางเมตร
- โรงซ่อมบำรุงยานพาหนะเป็นอาคารชั้นเดียว มีผนัง หลังคาทรงจั่ว โครงสร้าง ค..ล ขนาดพื้นที่ใช้สอย 144 ตารางเมตร
- อาคารงานระบบ เป็นอาคารชั้นเดียว มีผนัง หลังคาทรงแหงน โครงสร้าง ค..ล ขนาดพื้นที่ใช้สอย 32 ตารางเมตร
- อาคารดับเพลิงและกู้ภัย เป็นอาคารชั้นเดียว เปิดโล่ง มีผนัง หลังคาทรงปั้นหยา โครงสร้าง ค... ขนาดพื้นที่ใช้สอย 96 ตารางเมตร
- อาคารแปลงนาสาธิต 2 อาคาร เป็นอาคารชั้นเดียว เปิดโล่ง มีผนัง หลังคาทรงปั้นหยา โครงสร้าง ค... ขนาดพื้นที่ใช้สอย 32 ตารางเมตร
- ซุ้มขายกาแฟ เป็นอาคารเปิดโล่ง หลังคาปั้นหยามุงปีกไม้ โครงสร้างเหล็ก ขนาดพื้นที่ใช้สอย 16 ตารางเมตร



อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยวัดนางพญา
วัดนางพญาเป็นวัดในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ที่มีความโดดเด่นและน่าสนใจในเรื่อง


-
ผนังโบสถ์ที่ยังคงลวดลายจารึกเป็นหลักฐานที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เป็ฯต้นแบบในการศึกษางานต่อไป

วัดเจดีย์เจ็ดแถว
















เจดีย์รายที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวมีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจากที่ต่าง ๆหลายแห่ง เช่น ลังกา และพุกามด้านหลังเจดีย์ประธานมีเจดีย์รายที่มีลักษณะเด่น คือฐานเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ยอดเป็นทรงกลม ภายในเจดีย์มีซุ้มโถงส่วนซุ้มโถงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้นมีภาพจิตรกรรมเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า และเหล่าเทวดา กษัตริย์
นอกจากนั้นยังมีกำแพงแก้วล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ภายนอกกำแพงมีโบสถ์และบ่อน้ำ ซึ่งเดิมมีคูน้ำล้อมรอบ ทั้งนี้ภายในบริเวณวัดมีต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพ นำผ้าสีมาพันไว้รอบต้นไม้


23/07/54
วัดราชบูรณะ
          พระอุโบสถมีลักษณะพิเศษที่ชายคา ตกแต่งด้วยนาค 3 เศียร มีลักษณะอ่อนช้อยงดงาม 


การวางผังของวัด มีพระปรางค์เป็นองค์ปรธานของวัด รอบองค์พระปรางค์ มีระเบียงคต และวิหารทิศ พระวิหารทางทิศตะวันออกเป็นที่ประดิษฐานพระอัฎฐารส ที่เรียกกันว่า วิหาร เก้าห้อง ปัจจุบันคงเหลือพระอัฎฐารส เสาและเนินพระวิหารบางส่วน พระวิหารทางทิศตะวันตก เป็ฯที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระวิหารทางทิศเหนือ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ พระวิหารทางทิศใต้ เป็นที่ประดิษฐานพระศรีศาสดา ซึ่งปัจจุบันพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาถูกอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ทางวัดพระศรีรีตนมหาธาตุวรมหาวิหารจึงได้สร้างองค์จำลองขึ้นแทน
ประเด็นการออกแบบที่น่าสนใจ
- การออกแบบระเบียงคต ผสมผสานระหว่างสุโขทัยและอยุธยา
  รูปแบบสุโขทัย องค์พระพุทธรูปรอบระเบียงคต จะหันหน้าออกจากคอร์ท
  รูปแบบอยุธยา  องค์พระพุทธรูปรอบระเบียงคต จะหันหน้าเข้าองค์พระปรางค์ประธาน