วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การออกภาคสนามวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตอนที่ 1

การออกภาคสนามวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
วันที่
สถานที่ออกภาคสนาม
จังหวัด
18/06/54
บ้านไท-ยวน
บ้านเขาแก้ว อาจารย์ทรงชัย สระบุรี
สระบุรี
15/07/54
บ้านเรือนแพ
อุทัยธานี
16/07/54
วัดศรีรองเมือง 
วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม
วัดข่วงกอม
ท้องนา (Landscape)
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
คุ้มเจ้าพระยาปิงเมือง
ลำปาง
17/07/54
วัดปงสนุก นครลำปาง
วัดไหล่หินหลวง
วัดพระธาตุลำปางหลวง
ลำปาง
18/07/54
พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วัดพันเตา
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
โรงแรมราชมรรคา
เชียงใหม่
19/07/54
วัดอินทราวาส (วันต้นเกว๋น)
วัดต้นกอก
หมู่บ้านบริเวณวัดต้นกอก ตำบลบ้านกลาง
หมู่บ้านต้นแหนน้อย
เชียงใหม่
20/07/54
บ้านเสานัก
หมู่บ้านริมทาง (บ้านวังค่าหมู่ 4 อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย)
เชียงใหม่
สุโขทัย
21/07/54
อ่างเก็บน้ำสรีดภงค์
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดศรีสวาย
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
วัดพระพายหลวง
วัดศรีชุม  
บ้านป้าปิ่น  สีชอล์ค
สุโขทัย
22/07/54





หมู่บ้านริมทาง
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร
โรงแรมสุโขทัย เฮอริเทจ รีสอร์ท
สนามบินสุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยวัดนางพญา
วัดเจดีย์เจ็ดแถว
วัดช้างล้อม
หมู่บ้านริมทาง  (คุ้ม 10 ราชพฤกษ์)
สุโขทัย




23/07/54
วัดราชบูรณะ
วัดนางพญา
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่)
พิษณุโลก




จากตารางการออกภาคสนามของวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนั้น สามารถแยกเป็นประเด็นสรุปได้ดังนี้

1.     ประวัติศาสตร์ชุมชน
บอกเล่าเรื่องราว ความเป็นมาในอดีต หรือประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนนั้นๆ

2.     วัสดุท้องถิ่น

การประยุกต์ และการดัดแปลงเอาวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาสร้างงานสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่นั้นๆ
3.     กฎหมายการก่อสร้าง
การนำกฎหมายไปจับกับการก่อสร้างสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประยุกต์ และการยกเว้นทางกฎหมายในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
4.     คุณค่าทางสถาปัตยกรรม
มุมมอง และการตีค่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นส่วนบุคคล
5.     ประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ประเด็นที่เกี่ยวข้งกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแต่ละประเภท ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป

18/06/54                 บ้านไท-ยวน ,บ้านเขาแก้ว อาจารย์ทรงชัย สระบุรี

ประวัติศาสตร์ชุมชน วัฒนธรรมไทย - ยวน

เดิมทีชาวไทยวนนั้นมีถิ่นฐานอยู่ลุ่มแม่น้ำโขงตรงบริเวณที่เรียกว่าเมืองหรือเวียงโยนก คนไทที่อาศัยอยู่เมืองโยนกจึงเรียกตัวเองว่า ไทโยนก หรือไทยวน เมืองโยนกในปัจจุบันคือเมืองเชียงแสนในจังหวัดเชียงราย ซึ่งก็นับได้ว่าเป็นถิ่นกำเนิดของชาวไทยวนทั้งหมด แต่ต่อมาก็ได้อพยพไปอยู่ตามภาคเหนือของไทย หรือบ้างก็ถูกพม่าจับเป็นเชลย พอถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงมีพระบัญชาให้พระยายมราชยกทัพหลวงไปร่วมกับหัวเมืองฝ่ายเหนือ เพื่อทำการกวาดล้างพม่าที่ยึดครองเมืองเชียงแสนอยู่ในขณะนั้นให้สิ้นซากไป หลังจากตีเมืองเชียงแสนได้สำเร็จแล้ว จึงได้ทำการเผาป้อมปราการและกำแพงเมืองทิ้งเสีย พร้อมกับกวาดต้อนผู้คนที่พม่าจับไว้เป็นเชลยซึ่งก็ได้แก่ชาวไทยวนจำนวนกว่า 2 หมื่นคนลงมาด้วย ในระหว่างนั้น ชาวไทยวนบางกลุ่มก็ขอไปตั้งถิ่นฐานใหม่อยู่ที่เชียงใหม่ น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ เช่น ไทยวนที่อำเภอลับแล ท่าปลา ตรอน เป็นต้น ส่วนที่อพยพลงมาทางใต้ตามทัพหลวงซึ่งนำโดยพระยายมราชนั้นก็เลือกมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ลุ่มแม่น้ำป่าสักในเขตอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี และอีกส่วนหนึ่งก็ลงไปถึงจังหวัดราชบุรีในปัจจุบัน

สิ่งที่น่าสนใจคือ การก่อตั้ง หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวนขึ้น ก็เนื่องมาจากแนวความคิด 3 ส. คือ
ส. แรก - สืบสาวเรื่องราวความเป็นมา ส. ที่สอง - สานต่อวัฒนธรรมให้คงไว้ และ ส. ที่สาม – เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในชุมชนไทยวนด้วยกัน และบ้านเขาแก้วที่เป็นบ้านทรงไทยโบราณ ซึ่งถูกยกมาจากเชียงแสน  มาตั้งไว้ที่สระบุรี โดยอาจารย์ทรงชัย ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน
บ้านอาจารย์ทรงชัย เป็นแบบล้านนาเชียงแสน มีการเคลื่อนย้ายมาจากอำเภอเชียงแสน จงหวัดเชียงราย
ทางเดินเชื่อมไปยังเรือนพักผ่อนด้านหลัง ออกแบบให้สอดเข้าไปกับใต้ถุนอาคาร  
สร้างความน่าสนใจให้กับ space สร้างบรรยากาศ
เรือนพักผ่อนแทรกตัวไปกับริมน้ำ  สร้างความร่มรื่น และภาวะน่าสบาย
การออกแบบเน้นเรื่องการวางผัง ทิศทางลมที่ถ่ายเทได้สะดวกและเหมาะสม ทำให้ทุกพื้นที่ใช้สอย
ภายในบริเวณบ้านร่มรื่น อยู่สบาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น