วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

MY IDOL ARCHITECT,KMITL

Design มีส่วนบังคับชีวิตคน แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนได้
แนวคิดในการรออกแบบสถาปัตยกรรมของสถาปนิกหนึ่งในผู้ถือหุ้นบริษัทพิกัดคอนซัลแทนท์ พี่เกรียงศักดิ์ ติรวิภาส 
ที่ได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในวิชาชีพสถาปนิกมาโดยตลอด

        เกรียงศักดิ์  ติรวิภาส หรือพี่เกรียง เรียนจบจากสถาปัตย์ ลาดกระบังรุ่นที่ 19 (..2534) สถาปนิกรุ่นใหญ่                (จบมานาน) ผู้ที่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและมีแนวทางการทำงานที่น่าสนใจ



ผู้สัมภาษณ์ : สวัสดีค่ะพี่เกรียง หนูชื่อวิวค่ะ (วีรยา ปิยะตระกูล) สถ.5 รหัส 50020071 รุ่น 35 แล้วค่ะ
พี่เกรียง :       เทียบรุ่นกันไม่ได้จริงๆ (ฮ่าๆๆ หัวเราะ) สมัยนั้นมีไม่ถึงรหัสนี้เลย มี 40 กว่าคนเอง
ผู้สัมภาษณ์ : ค่ะ เดี๋ยวนี้เด็กๆ นิยมหันมาเรียนสถาปัตย์กันมากค่ะพี่ โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง
พี่เกรียง :       โอ้ย! สมัยพี่นะหรอ ผู้หญิงมีแค่ 5 คนเอง แล้วอาจารย์จิ๋วท่านจะตั้งชื่อรุ่นให้ว่า
 รุ่นวาสนาน้อย(ตีความไปนู้น อันที่จริงแล้วท่านหมายถึง รุ่นพี่นะขี้เกียจเข้า
 เรียนกัน โดนด่า เรื่องเล่นบอลใต้ตึกบ่อยๆ น่ะ)
ผู้สัมภาษณ์ : อ่อค่ะ พี่ช่วยเล่าประวัติตั้งแต่เรียนมาจนทำงานว่าผ่านอุสรรคหรือจุดพลิกพลันในชีวิต                   
        อะไรมาบ้าง? แล้วพี่ผ่านมันมาได้ยังไง จนมีวันนี้?
พี่เกรียง :       พี่เรียนจบปี 34 รุ่นอาจารย์รุ่งโรจน์น่ะ รู้สึกจะเป็นรุ่น 19 ประมาณนั้น ก็สมัยนั้นนอนสตูตั้งแต่
        ปี 1 เลย ลาดกระบังจะมีเสน่ห์อยู่ที่ความเป็นลูกทุ่ง คือใช้ชีวิตแบบบ้านๆ ทำงานถึงไหนถึงกัน
        (ถึก) ทุกคนจะรู้จักกันหมดทั้งคณะ(คนมันน้อย) ทำให้รักกันมาก สนิทกับอาจารย์ บรรยากาศ
        การเรียนก็จะอบอุ่นเป็นกันเองมากๆ สมัยนั้นเรียนจบมาแล้วมีงานทำทุกคน พี่ว่าเด็กถาปัตย์
        ลาดกระบังมีเอกลักษณ์อย่างนึง คือ สามารถออกแบบงานที่สร้างจริงได้ เพราะเราแน่น         
        โครงสร้าง (CON) และสามารถประสานจัดการงานดีไซน์ให้ออกมาเป็นแบบ Drawing ได้
            พี่จบปี 39 ออกมาทำงานดีไซน์ ก็เหมือนคนเรียนสถาปัตย์ทุกคนที่จบมาก็หวังว่าจะได้           
        ทำงานด้านดีไซน์ออกแบบกันทั้งนั้น ตอนนั้นก็ไปสมัครงานที่บริษัท J&B Architect ก็ทำงาน
        ได้ 6 เดือน รู้สึกว่าแนวทางการทำงานของ Office นี้มันไม่เข้ากับพี่ พี่เลยลาออก พอดีเพื่อน
        ชวนไปทำงานกับอาจารย์ยงธนิศย์  พิมลเสถียร ที่สถาปัตย์เนี่ยแหละ ท่านสอน ป.โท ภาค         
        ผังเมือง งานที่ทำจะเป็นงานอนุรักษ์งานวิจัยอยู่นาน จนวันหนึ่งอาจารย์ก็ไม่มีงานมาป้อน นี่
        แหละก็เป็นจุดที่ทำให้พี่เริ่มต้นรวมตัวรับ Job กับกลุ่มเพื่อนๆ หางาน แล้วงานก็เข้ามาเรื่อยๆ
        แรกๆ ก็เป็นงานออกแบบ ตกแต่งก่อน ต่อมางานก็ค่อยเริ่มใหญ่ขึ้น แต่ยังไม่มีรูปแบบของ
        บริษัท เราจะทำงานในรูปแบบของฟรีเลนส์มากกว่า  ก็ทำแบบนี้มานานกว่า 10 ปีได้ ทำให้
        เราโตขึ้น เลยตัดสินใจจดทะเบียน ทำงานในรูปแบบของบริษัทได้ 4-5 ปีที่ผ่านมานี้เอง
        ชื่อว่าบริษัทพิกัดคอนซัลแทนท์ อยู่แถวเขตวังทองหลาง กรุงเทพนี่เอง
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วอะไรทำให้พี่ตัดสินใจ ตั้งบริษัทของตัวเองคะ?
พี่เกรียง :       ก็หลังจากที่รับงานมาเรื่อยๆนะ ก็รู้จักเพื่อนที่ทำงานราชการ และการที่จะทำงานราชการได้
                    จะต้องจดทะเบียน ทำงานในรูปแบบบริษัท พี่เลยตัดสินใจตั้งบริษัท แล้วก็มีงานราชการเป็น
                    ส่วนใหญ่ ทำให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วงานที่บริษัททำเป็นงานในรูปแบบไหนคะ?
พี่เกรียง :       โดยมากเป็นงานออกแบบ และรับเหมาควบคุมงาน โดยจะหุ้นกันหลายคน  เชื่อมั๊ยว่าการ
                    ทำงานกับหุ้นส่วนซึ่งเป็นเพื่อนพี่เนี่ย มันทำให้พี่รู้ตัวเองว่า พี่ดีไซน์ไม่เป็น แต่พี่มีความสามารถ
                    ในการจัดการงานก่อสร้างซะมากกว่า พี่เลยทำหน้าที่สถาปนิกควบคุมงาน สเปกแบบ แก้
                    แบบหน้างาน คุยกับช่าง ซึงทำให้พี่พบว่า เออ การเป็นสถาปนิกเนี่ยต้องอาศัยทักษะของวิชา
                    CON และภาษาช่างมาช่วยในการคุยแบบด้วย เราไม่ได้เก่งแต่ดีไซน์ แต่งานจริงไม่ได้เรื่อง
                    มันทำให้พี่สนใจ และพยายามเรียนรู้จากประสบการณ์มากขึ้น งานนแต่ละงานมันสอนเรา ให้
                    เรารู้จักแก้ปัญหาดีไซน์และ CON พอคิดแบบนี้มันทำให้ห้องเรียนชีวิตของพี่กว้างขึ้น ไม่ได้อยู่
                    แค่ใน Office หรือตำราที่มีแต่สูตรสำเร็จทางวิชาการ
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพี่ยึดหลักอะไรในการทำงาน ในวิชาชีพสถาปนิกคะ?
พี่เกรียง :       สำหรับพี่แล้วเราต้องออกแบบบนพื้นฐานของความเป็นไปได้ พูดง่ายๆ คือ สามารถสร้างได้
                    จริงนั่นเอง พี่คิดว่างาน Design ก็เหมือน Lego ที่มีรูปแบบ มี model ประกอบสำเร็จของมัน
                    อยู่แล้ว แต่เราจะหยิบมาใช้ยังไง เพื่อต่อยอดสิ่งที่มีอยู่ ให้สร้างสรรค์เป็นสิ่งใหม่ได้
                    (การสังเคราะห์) ตรงนี้แหละที่พี่ว่ายาก

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพี่คิดว่าเด็กที่จบจากสถาปัตย์ ลาดกระบัง เป็นยังไงคะ?
พี่เกรียง :       เออสมัยเรียนเนี่ยไม่รู้ทำไม เราจะชอบเปรียบเทียบกับมหาลัยอื่นตลอดเลย พี่ว่าพอกันนะ
                    เรื่องดีไซน์ แต่ที่ลาดกระบังชนะขาดรอย คือ ความรู้เรื่อง CON และความถึกบึกบึนของพวก
                    เรา ความเป็นลุกทุ่งๆ ที่เป็นเสน่ห์ให้ใครต่อใครหลงรัก (หัวเราะ) ไม่รู้นะ คือ ลาดกระบังจะ
                    เป็นแนวออกแบบแล้วสร้างได้จริง แต่เด็กสมัยนี้ไม่รู้เป็นไง ไม่ว่าที่ไหนเนี่ย จบมามันทำงานยัง
                    ไม่ได้อ่ะ มันต้องเรียนรู้อีกเยอะเลย ทั้งการทำงานร่วมกับวิศวกร ช่าง หรือลูกค้าหลายๆ
                    รูปแบบ เหมือนเรามีความรู้ด้านเดียว คือ การดีไซน์(ที่ทำตามกระแสด้วย) เด็กสมัยนี้หา
                    จุดยืนยาก เพราะโลกมันกว้างหูตาเปิดรับทุกอย่างที่เข้ามา เลยแยกไม่ออกระหว่างอะไรที่
                    เป็นกระแสหรือข้อเท็จจริง ทำให้เด็กคิดด้านเดียว แต่ไม่เคยลงมือทำงานจริง ว่ามันยากกว่า
                    มันซับซ้อนกว่านั้นเยอะ ทำให้พี่คิดว่าสถาปนิกปัจจุบันเป็นนักออกแบบ Facade                     
                    (ก็เหมือนนักออกแบบเสื้อผ้า ที่เรียกว่าดีไซน์เนอร์นั่นเอง) ไม่ใช่นักออกแบบ Space
                    (สถาปนิก) พี่ก็ไม่ได้โทษอาจารย์ หรือสถาบันนะ เพราะมีคำพูดของอาจารย์เอกพงษ์ที่ว่า
                    “ สถาบันมีหน้าที่จรรโลงวิชาชีพให้สืบไปเท่านั้น แต่การเป็นสถาปนิกได้คุณต้องสร้าง                       
                    ด้วยตัวคุณเอง ตีความได้ว่า สถาบันไม่ได้สร้างสถาปนิก ฉะนั้นอย่าไปรอรับอย่างเดียว เรา
                    เองต่างหากที่สร้างให้เราเป็นสถาปนิกได้ โดยการไม่หยุดเรียนรู้ พี่เป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือ
                    มาก ไม่ว่าจะเป็นแนวไหน เพราะพี่คิดว่าการอ่านมันมีกระบวนการ มีมุมมองบางอย่างที่เรา
                    จะซึมซับแล้วหยิบมันมาใช้ในชีวิตประจำวันได้


ผู้สัมภาษณ์ : อืมมม ลึกซึ้งค่ะ แล้วพี่คิดยังไงที่สมัยนี้ให้ความสำคัญกับการออกแบบเรื่อง Green     
                     Architecture คะ (มันเป็นกระแสอย่างที่พี่บอก หรือเป็นแนวทางที่ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม)
พี่เกรียง :       คือสมัยที่พี่เรียนมีอยู่สามคำที่ Top hits มากคือ Sustainable Recycle และการมีส่วนร่วม
                    ซึ่งมันก็คือ Green Architecture มันก็แค่เป็นคำจำกัดความที่นักวิชาการสร้างขึ้นมาเพื่อ
                    แก้ปัญหาการบริโภควัสดุ บริโภคธรรมชาติของมนุษย์ จริงๆแล้วมันก็คือการต่อยอดของคำว่า
                    Recycle Sustainable และการมีส่วนร่วม คือทำยังไงก็ได้เพื่อให้เกิดความยั่งยืน สามารถ
                    หมุนเวียน และทุกคนต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบ แค่นั้นเอง พี่ว่า แค่เราสามารถออกแบบ
                    อาคาร ออกแบบ Space ให้อยู่สบาย เราก็ไม่ต้องใช้แอร์ ไม่ต้องใช้พลังงานในส่วนนั้น ก็ถือว่า
                    ประสบความสำเร็จแล้ว สำหรับการออกแบบที่ไม่ต้องถึงขนาดเข้าข่ายคำว่า
                    Green Architecture  หรอกครับ
ผู้สัมภาษณ์ : ค่ะ แล้วพี่คิดว่าจรรยาบรรณกับสถาปนิกมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน คะ ?
พี่เกรียง :      ในความคิดพี่นะ พี่ว่าไม่มีสูตรสำเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเสมอไปหรอก เรื่องจรรยาบรรณ
                    วิชาชีพเป็นเหมือนข้อกำหนด เป็นกรอบให้เราสามารถเดินไปตามทิศทางนั้นเท่านั้น พี่ว่า
                    อยากให้เราเชื่อในสิ่งที่เราคิดว่าดีมากกว่า แต่ก่อนที่จะเชื่อนั้น เราต้องพิสูจน์ ต้องหาความรู้
                    และทำความเข้าใจกับมัน แล้วค่อยยึดมันเป็นแนวทางบนพื้นฐานของความถูกต้อง และอยู่
                    ที่ว่าเราเรียนรู้มันจากด้านไหนมากกว่านะครับ
ผู้สัมภาษณ์ : ค่ะ สุดท้ายนี้ หนูก็อยากให้พี่ฝากอะไรสักหน่อย เพื่อเป็นแนวทางให้กับน้องๆ สถาปนิกรุ่น
                    น้อง ต่อๆไปค่ะ
พี่เกรียง :       พี่ว่า สถาปนิกคือผู้ที่ถูกฝึกให้มององค์รวมของโครงสร้างทั้งภายในและภายนอก ฉะนั้นทุกสิ่ง
                    ที่เราชอบหรือไม่ชอบเราจะสามารถวิเคราะห์ได้ก่อนแล้วเบื้องต้นว่าควรจะเลือกหยิบอะไรมา
                    ใช้ในงานออกแบบ แต่สำหรับ Great Architect แล้วเนี่ยเขาจะสังเคราะห์ ก็หมายถึงการต่อ
                    ยอดสิ่งที่มีอยู่ให้เป็นสิ่งใหม่ได้ (อันนี้จะขั้นเทพมาก) พี่อยากให้เราเรียนรู้การทำงานแบบ
                    Great Architect ไม่ใช่เพื่อให้เหมือนพวกเขา แต่เพื่อเรียนรู้ความเป็นมืออาชีพ แล้วพอถึงวัน
                    นั้นสถาปนิกไทยก็จะสามารถก้าวเข้าสู่ระดับอินเตอร์ได้อย่างแน่นอน
 ผู้สัมภาษณ์ : ขอบคุณค่ะ พี่เกรียงที่ให้แง่คิด และร่วมถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อเป็นแนวทางให้กับรุ่นน้อง
                    ลาดกระบังที่กำลังจะจบออกไป อยู่บนโลกแห่งวามเป็นจริง ทำงานจริง และหนูคิดว่าเราคง
                    ต้องอาศัย connection ที่ดีจากรุ่นพี่ๆ เพื่อการทำงานในอนาคตต่อไปด้วยค่ะ
พี่เกรียง :       ด้วยความยินดีครับ

        เมื่อบทสัมภาษณ์จบลง บรรยากาศของการคุยกันก็หวนย้อนไปถึงอดีต ครั้งที่พวกพี่ๆ เรียนอยู่
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ลาดกระบัง  เราทุกคนมีของดีประจำคณะ นั่นก็คือท่านอาจารย์จิ๋ว
(รศ.วิวัฒน์ เตมียพันธ์) ผู้บุกเบิกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ลาดกระบังยุคแรกๆ และก็เป็นที่แน่ชัดว่า                 
ท่านจะยังคงเป็น สถาปนิก IDOL ของทุกคนเรื่องแบบอย่างการใช้ชีวิต การวางตัว และความรับผิดชอบ             
ต่อหน้าที่ อย่างหาใครเทียบไม่ได้อีกแล้ว ณ ที่นี้


                                                อาจารย์จิ๋ว ผู้นำออกทริปในตำนานปี 2554